ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Chinese date plum
Chinese date plum
Diospyros kaki L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Ebenaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros kaki L.
 
  ชื่อไทย พลับจีน, พลับ
 
  ชื่อท้องถิ่น -
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้น, ผลัดใบขนาดเล็ก, สูงประมาณ 15 ม, เปลือกแตกเป็นแผ่น ๆ คล้ายเกล็ด, ตามกิ่งมีช่องระบายอากาศสีเทาปนน้ำตาล หรือเทาปนขาว, กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล, ใบประดับรูปหอกแกมรูปยาวแคบ, ยาวได้ถึง 6 มม.
ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, รูปเกือบกลม, รีป้อม ๆ , ไข่ป้อม, ไข่กลับป้อมหรือขอบขนานป้อม ๆ , กว้าง 3 – 9 ซม., ยาว 6 – 18 ซม., ปลายใบแหลมหรือมน; ขอบใบเรียบ; โคนใบมนหรือสอบแคบ; ด้านบนเกลี้ยง, ด้านล่างสีเขียวอ่อนมีขนนุ่ม; เส้นใบออกจากโคนใบ 3 – 5 เส้น, เส้นแขนงใบมีข้างละ 3 – 5 เส้น, เส้นใบย่อยสานกันเป็นตาข่าย, เห็นได้ชัดทางด้านล่างของใบ; ก้านใบยาว 1 – 1.5 ซม., มีขน.
ดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียรวมอยู่บนต้นเดียวกัน หรืออยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ ออกตามง่ามใบเป็นช่อสั้น ๆ, ยาวประมาณ 6 มม., ก้านช่อสั้นมาก, มีดอกช่อละประมาณ 3 ดอก, มีขน; กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน, ปลายแยกเป็น 4 กลีบ, รูปไข่, ยาวประมาณ 8 มม.; กลีบดอกสีขาว, โคนเชื่อมติดกัน, ปลายแยกเป็น 4 กลีบ, ยาว 8 – 12 มม., กลีบกว้างประมาณ 6 มม.; เกสรผู้มี 16 อัน, มีขน. ดอกเพศเมีย ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ, ก้านดอกยาวประมาณ 12 มม., กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกมีจำนวนและลักษณะเหมือนดอกเพศผู้, แต่กลีบรองกลีบดอกขยายใหญ่ขึ้นเมื่อเป็นผล, มีเกสรผู้ฝ่อ 8 อัน; รังไข่รูปไข่, ภายในแบ่งเป็น 8 ช่อง, หลอดรับไข่มีขน, ปลายแยกเป็น 4 แฉก.
ผล รูปกลมหรือแป้น, เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 – 8 ซม., ผลแก่สีเหลืองสด หรือเหลืองอมส้ม, รสหวานหอม, รับประทานได้. [6]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, รูปเกือบกลม, รีป้อม ๆ , ไข่ป้อม, ไข่กลับป้อมหรือขอบขนานป้อม ๆ , กว้าง 3 – 9 ซม., ยาว 6 – 18 ซม., ปลายใบแหลมหรือมน; ขอบใบเรียบ; โคนใบมนหรือสอบแคบ; ด้านบนเกลี้ยง, ด้านล่างสีเขียวอ่อนมีขนนุ่ม; เส้นใบออกจากโคนใบ 3 – 5 เส้น, เส้นแขนงใบมีข้างละ 3 – 5 เส้น, เส้นใบย่อยสานกันเป็นตาข่าย, เห็นได้ชัดทางด้านล่างของใบ; ก้านใบยาว 1 – 1.5 ซม., มีขน.
 
  ดอก ดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียรวมอยู่บนต้นเดียวกัน หรืออยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ ออกตามง่ามใบเป็นช่อสั้น ๆ, ยาวประมาณ 6 มม., ก้านช่อสั้นมาก, มีดอกช่อละประมาณ 3 ดอก, มีขน; กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน, ปลายแยกเป็น 4 กลีบ, รูปไข่, ยาวประมาณ 8 มม.; กลีบดอกสีขาว, โคนเชื่อมติดกัน, ปลายแยกเป็น 4 กลีบ, ยาว 8 – 12 มม., กลีบกว้างประมาณ 6 มม.; เกสรผู้มี 16 อัน, มีขน. ดอกเพศเมีย ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ, ก้านดอกยาวประมาณ 12 มม., กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกมีจำนวนและลักษณะเหมือนดอกเพศผู้, แต่กลีบรองกลีบดอกขยายใหญ่ขึ้นเมื่อเป็นผล, มีเกสรผู้ฝ่อ 8 อัน; รังไข่รูปไข่, ภายในแบ่งเป็น 8 ช่อง, หลอดรับไข่มีขน, ปลายแยกเป็น 4 แฉก.
 
  ผล ผล รูปกลมหรือแป้น, เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 – 8 ซม., ผลแก่สีเหลืองสด หรือเหลืองอมส้ม, รสหวานหอม, รับประทานได้. [6]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ใบ น้ำต้มใบ, กินเป็นยาแก้ไอและลดไข้
ดอก กลีบรองกลีบบดอกและก้านผลตากให้แห้ง, ใช้เข้าเครื่องยาเป็นยาแก้ไอ และหายใจขัด
ผล ผลสุกกินได้, เป็นยาฝาดสมาน , บำรุงธาตุ, บำรุงปอด และแก้ไอ
ยางผลดิบ กินเป็นยาลดความดันโลหิต, ห้ามเลือด และระบาย
เมล็ด เมล็ดคั่วใช้แทนเมล็ดกาแฟได้ [6]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง