ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Air potato, Potato yam - Air potato, Potato yam, Aerial yam, Bulbilbearing yam
- Air potato, Potato yam - Air potato, Potato yam, Aerial yam, Bulbilbearing yam
Dioscorea bulbifera L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Dioscoreaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Dioscorea bulbifera L.
 
  ชื่อไทย ว่านพระฉิม
 
  ชื่อท้องถิ่น ไคว้เคียว,สะมีโค่ยม่า,โค่ยเมี่ยน,มันงูเห่า(ลั้วะ), ด่อยจู๊(เมี่ยน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก พันเลื้อย ยาวได้ถึง 6 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยมคล้ายปีกหรือคล้ายหนามปราศจากขน ขึ้นพันทางซ้าย
ใบ ใบเดี่ยว ออกแบบสลับ ก้านใบยาวประมาณครึ่งหนึ่งของแผ่นใบบางครั้งเป็นเหลี่ยมคล้ายปีก แผ่นใบรูปหัวใจ ขนาดกว้างและยาวไล่เลี่ยกันคือ 20-32 ซม. ปลายใบแหลมบ้างงเป็นจะงอย โคนใบเว้าลึก ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเป็นมันแต่หยิกย่นน้อยๆ ระหว่างเส้นใบ เส้นใบข้าง 5-8 คู่ เส้นย่อยเรียงตัวตามขวางแบบขั้นกระได ระหว่างเส้นใบข้าง
ดอก ออกเป็นช่อยาว เพศเดี่ยว ดอกเพศผู้ออก 1-4 ช่อจากง่ามใบประดับ ยาวได้ถึง 1 เมตร มีดอกย่อยมากถึง 100 ดอก ดอยย่อยเพศผู้เล็กสีเขียวอมชมพูหรือสีขาว วงกลีบรวมเป็น 2 วง 3 ส่วน เกสรเพศผู้ 6 อัน เป็นหมันทั้งหมดหรือครึ่งหนึ่งเป็น ดอกเพศเมียออกน้อยกว่าคือประมาณ 40 ดอก แต่บานได้กว้างกว่าดอกเพศผู้ ยอดเกสร 3 อัน
ผล เป็นฝักทรงรี ขนาดกว้าง 8-9 มม. ยาว 20-22 มม. โค้งพับลง มีปีกสีน้ำตาลเป็นมัน เมล็ดมีขอบคล้ายปีกรอบๆ หัวย่อยหรือหัวอากาศเกิดตมง่ามใบ แต่บางครั้งเกิดขึ้นแทนดอกเพศผู้ตามบริเวณง่ามช่อดอก หัวเล็กมักจะเป็นปมตะปุ่มตะป่ำ หัวโตมักจะมีสีผิว เป็นมัน รูปร่างค่อนไปทางกลมหรือคล้ายไต ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-5.0 ซม. แบนเล็กน้อย สีน้ำตาลถึงสีเทา น้ำหนักอาจถึงครึ่ง กก. หรือ 2 กก. เนื้อใน สีเหลืองซีด มีจุดสีม่วงกระจายและจะเปลี่ยนเป็นสีส้มเมื่อถูกอากาศและมีลักษณะเป็นเมือก หัวใต้ดินโป่งนูนเป็นลูกๆ โดยเชื่อมติดกันที่โคนต้น [9]
 
  ใบ ใบ ใบเดี่ยว ออกแบบสลับ ก้านใบยาวประมาณครึ่งหนึ่งของแผ่นใบบางครั้งเป็นเหลี่ยมคล้ายปีก แผ่นใบรูปหัวใจ ขนาดกว้างและยาวไล่เลี่ยกันคือ 20-32 ซม. ปลายใบแหลมบ้างงเป็นจะงอย โคนใบเว้าลึก ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเป็นมันแต่หยิกย่นน้อยๆ ระหว่างเส้นใบ เส้นใบข้าง 5-8 คู่ เส้นย่อยเรียงตัวตามขวางแบบขั้นกระได ระหว่างเส้นใบข้าง
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อยาว เพศเดี่ยว ดอกเพศผู้ออก 1-4 ช่อจากง่ามใบประดับ ยาวได้ถึง 1 เมตร มีดอกย่อยมากถึง 100 ดอก ดอยย่อยเพศผู้เล็กสีเขียวอมชมพูหรือสีขาว วงกลีบรวมเป็น 2 วง 3 ส่วน เกสรเพศผู้ 6 อัน เป็นหมันทั้งหมดหรือครึ่งหนึ่งเป็น ดอกเพศเมียออกน้อยกว่าคือประมาณ 40 ดอก แต่บานได้กว้างกว่าดอกเพศผู้ ยอดเกสร 3 อัน
 
  ผล ผล เป็นฝักทรงรี ขนาดกว้าง 8-9 มม. ยาว 20-22 มม. โค้งพับลง มีปีกสีน้ำตาลเป็นมัน เมล็ดมีขอบคล้ายปีกรอบๆ หัวย่อยหรือหัวอากาศเกิดตมง่ามใบ แต่บางครั้งเกิดขึ้นแทนดอกเพศผู้ตามบริเวณง่ามช่อดอก หัวเล็กมักจะเป็นปมตะปุ่มตะป่ำ หัวโตมักจะมีสีผิว เป็นมัน รูปร่างค่อนไปทางกลมหรือคล้ายไต ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-5.0 ซม. แบนเล็กน้อย สีน้ำตาลถึงสีเทา น้ำหนักอาจถึงครึ่ง กก. หรือ 2 กก. เนื้อใน สีเหลืองซีด มีจุดสีม่วงกระจายและจะเปลี่ยนเป็นสีส้มเมื่อถูกอากาศและมีลักษณะเป็นเมือก หัวใต้ดินโป่งนูนเป็นลูกๆ โดยเชื่อมติดกันที่โคนต้น [9]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - หัวใต้ดิน นำไปนึ่งหรือต้มกิน, ยอดอ่อน นึ่งกินกับน้ำพริก(ลั้วะ)
หัวใต้ดิน นำมานึ่งหรือเผากินเป็นอาหารว่าง(ลั้วะ)
หัวใต้ดิน นำมาขูดเป็นเส้นแล้วนำไปนึ่งใช้รับประทาน แทนข้าวในยามขัดสน(เมี่ยน)
- หัวใต้ดิน เมื่อทำให้สุกกินได้ มีสรรพคุณทางยาเป็นยาขับปัสสาวะ แก้บิด ลำไส้อักเสบ ริดสีดวงทวาร บำรุงธาตุ แก้น้ำเหลืองเสีย ขับพยาธิ เจริญอาหาร แก้ปวดท้อง ท้องย้อย เป็นยาขม ยาเย็น และขับน้ำนม หั่นเป็นแผ่นบางๆ ใช้ปิดแผลแก้อักเสบได้ [6]
- ชาวเขาแทบทุกเผ่าใช้ใบและยอดอ่อนกินเป็นผักสด หรือผักลวก ใช้หัวย่อยเผาไฟกินเนื้อในเป็นอาหารแป้ง ม้งใช้รากตำเป็นยาพอกแก้สิวฟ้า และแก้ไผ่(8) เย้าให้หัวฝานตากแห้ง ปรุงเป็นอาหารแป้งและกินเป็นยาแก้โรคกระเพาะ [9]
- หัว นำมาทุบแล้วนำไปใส่แผลให้สุนัข(เมี่ยน)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[9] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 1. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง