|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
Greater yam
|
Greater yam
Dioscorea alata L. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Dioscoreaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Dioscorea alata L. |
|
|
ชื่อไทย |
มันเสา |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- ไคว้ซอง(ลั้วะ), หน้วยมี(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), กวาย/มันป่า(ขมุ), เบล่หม่าติ้ง(ปะหล่อง) - มันงู, มันจาวมะพร้าว, มันมือหมี, มันเลือดไก่ (กลาง);; มันเขาวัว, มันแข้งช้าง, มันตีนช้าง, มันเลี่ยม (เหนือ); มันดอกทอง (นครราชสีมา)[6] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้เถา, มีหัวใต้ดิน, หัวมีรูปร่างต่าง ๆ กัน, เช่น รูปทรงกระบอก, กลม, รูปชมพู่, เป็นพูหรือแฉก, รูปนิ้วมือ เป็นต้น, ผิวสีน้ำตาลหรือดำ, ขาว, สีงาหรือม่วง, ไม่มีพิษ, ไม่มีขน, ลำต้นสี่เหลี่ยม, ไม่มีหนาม, ตามเหลี่ยมเป็นครีบ, ครีบเป็นคลื่น, มีหัวเกิดตามง่ามใบ, กว้าง 1 ซม., ยาว 4 ซม.
ใบ เป็นใบเดี่ยว, ใบที่อยู่โคนต้นเรียงสลับกัน, ใบที่อยู่เหนือขึ้นไปเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน, รูปไข่แกมสามเหลี่ยมหรือแกมหัวลูกศร, รูปขอบขนานแกมสามเหลี่ยม หรือขอบขนานแกมรูปไข่, กว้าง 6 – 15 ซม., ยาว 8 – 22 ซม.; โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ, เป็นติ่งหูหรือโคนตัด; ขอบใบเรียบ; ปลายใบเรียวแหลม, มีเส้นใบ 5 เส้น, นูนเห็นชัดทั้งด้านบนและด้านล่าง; แผ่นใบและก้านใบสีเขียวอ่อน; ก้านใบยาวใกล้เคียงกับแผ่นใบ, มีครีบ, บิด, โคนก้านใหญ่.
ดอก ออกตามง่ามใบ, ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อ ยาว 15 – 25 ซม., ก้านช่อสีเขียว, ไม่มีขน, มีครีบ, กลีบดอกมี 6 กลีบ, เรียงเป็น 2 ชั้น, เกสรผู้ 6 อัน, ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อ, ดอกไม่มีก้าน, แต่ละช่อมี 8 – 14 ดอก, กลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้, รังไข่มี 3 ช่อง, ปลายท่อรังไข่มี 3 แฉก.
ผล มีปีกโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม 3 ปีก, ปีกกว้าง 1.5 – 2.0 ซม., ยาว 1.7 – 2.5 ซม., ปลายผลเว้าเล็กน้อย, โคนกลมเป็นติ่งแหลมสั้น ๆ ; เมล็ดมีปีก. [6] |
|
|
ใบ |
ใบ, กว้าง 1 ซม., ยาว 4 ซม.
ใบ เป็นใบเดี่ยว, ใบที่อยู่โคนต้นเรียงสลับกัน, ใบที่อยู่เหนือขึ้นไปเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน, รูปไข่แกมสามเหลี่ยมหรือแกมหัวลูกศร, รูปขอบขนานแกมสามเหลี่ยม หรือขอบขนานแกมรูปไข่, กว้าง 6 – 15 ซม., ยาว 8 – 22 ซม.; โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ, เป็นติ่งหูหรือโคนตัด; ขอบใบเรียบ; ปลายใบเรียวแหลม, มีเส้นใบ 5 เส้น, นูนเห็นชัดทั้งด้านบนและด้านล่าง; แผ่นใบและก้านใบสีเขียวอ่อน; ก้านใบยาวใกล้เคียงกับแผ่นใบ, มีครีบ, บิด, โคนก้านใหญ่.
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกตามง่ามใบ, ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อ ยาว 15 – 25 ซม., ก้านช่อสีเขียว, ไม่มีขน, มีครีบ, กลีบดอกมี 6 กลีบ, เรียงเป็น 2 ชั้น, เกสรผู้ 6 อัน, ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อ, ดอกไม่มีก้าน, แต่ละช่อมี 8 – 14 ดอก, กลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้, รังไข่มี 3 ช่อง, ปลายท่อรังไข่มี 3 แฉก.
|
|
|
ผล |
ผล มีปีกโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม 3 ปีก, ปีกกว้าง 1.5 – 2.0 ซม., ยาว 1.7 – 2.5 ซม., ปลายผลเว้าเล็กน้อย, โคนกลมเป็นติ่งแหลมสั้น ๆ ; เมล็ดมีปีก. [6] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- หัวใต้ดิน นึ่งรับประทาน(ลั้วะ,ขมุ)
หัวใต้ดิน หั่นเป็นชิ้นๆ แล้วนำไปนึ่งรวมกับข้าวเหนียว แล้วนำมารับประทาน(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- ผล เอามาทาหน้ารักษาฝ้า(ปะหล่อง)
- หัวใต้ดินมีเนื่องในสีม่วงเป็นสารแอนโธไซยานิน นิยมใช้แต่งสีขนมกวน เช่น เผือกกวน แต่งสีไอศกรีม เป็นต้น มีมากทางภาคใต้ [3]
- หัวใต้ดิน เมื่อทำให้สุกกินได้ และใช้ทำแยมได้ดีเพราะเหนียวมาก , มีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ, แก้โรคเรื้อน และริดสีดวงทวาร, ใช้กินหลังจากฟื้นไข้ด้วยอาการไอเป็นเลือด และโรคไต หรือม้ามอักเสบ [6]
-(ราก) ต้มดื่มเป็นส่วนผสมของยารักษาวัณโรค (หัว) รับประทาน (อาข่า) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|