ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ส้านหิ่ง
ส้านหิ่ง
Dillenia parviflora Griff.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Dilleniaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Dillenia parviflora Griff.
 
  ชื่อไทย ส้านหิ่ง
 
  ชื่อท้องถิ่น เปียวกับ(เมี่ยน), หมักส้าน(คนเมือง), เบล่ไม้ส้าน(ปะหล่อง), แผละส้าน(ลั้วะ), เปละราหวิ(ขมุ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 เมตร ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุก 2-4 ดอก
 
  ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับหรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 15-25 ซม. ปลายใบกลมหรือมน ปลายแหลมหรือเว้าเล็กน้อย โคนใบมน กลม หรือรูปหัวใจตื้นๆ ขอบใบจักซี่ฟันละเอียด แผ่นใบด้านล่างมีขนสากหนาแน่น ก้านใบยาว 1.5-3.5 ซม.
 
  ดอก ออกตามกิ่ง มีใบประดับขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ ยาว 1.2-1.8 ซม. มีขนสากด้านนอกหนาแน่น กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง บาง รูปใบพาย ยาว 2.5-3.5 ซม. ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก เรียงเป็นวง 2 วง วงนอกจำนวนมาก ยาว 5-7 มม. โค้งออก วงใน 11-16 อัน ยาว 1.2-1.5 ซม. บานออก รังไข่มี 5-8 คาร์เพล ยาวประมาณ 5 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 7 มม.
 
  ผล ผลสด ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. รวมกลีบเลี้ยง สุกสีส้ม
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้มีรสหวาน(ขมุ,ลั้วะ)
ผลสุก รับประทานได้ มีรสเปรี้ยวหวาน(ปะหล่อง)
กลีบเลี้ยง รับประทานได้(เมี่ยน)
- ใบ บดแล้วใช้ทาผื่นคันที่เกิดจากการแพ้ตัวบุ้ง(เมี่ยน)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(คนเมือง,ลั้วะ)
- ผลสุก นำไปเป็นอาหารเลี้ยงหมู(ปะหล่อง)
ผล ให้วัวควายกินเป็นอาหาร(คนเมือง)
เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน(คนเมือง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง