|
วงศ์ |
Loranthaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Dendrophthoe pentandra (L.) Miq. |
|
|
ชื่อไทย |
กาฝากมะม่วง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
หล่อมีโชะพะโด่(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
กาฝาก เป็นพุ่ม ต้นแข็งแรง ยอดอ่อนมีขน ช่อดอกและดอกมีขนสีขาว หรือเทา หรือสีน้ำตาล ตามปลายกลีบดอกมีขนบาง
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม หรือเรียงกระจัดกระจาย รูปใบมีหลายแบบ ส่วนมากรุ)รีแคบ หรือกว้าง กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-13 ซม. ปลายใบส่วนใหญ่มน แหลม หรือเรียวแหลมเป็นส่วนน้อย โคนใบสอบแหลม หรือเป็นครีบ สีเขียวหม่น ด้านบนสีเข้มกว่าด้านล่าง เส้นกลางใบและส้นแขนงใบเห็นชัดทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 0.5-2 ซม.
ดอก ออกแบบช่อกระจะ ตามข้อ แกนช่อดอกยาว 1-2 ซม. มี 6-12 ดอก แต่ละดอกมีใบประดับรองรับ 1 ใบ ก้านดอกยาว 1-4 มม. กลีบดอก 5 กลีบ ติดกันเป็นหลอด ยาว 1.2-2 ซม. ส่วนโคนดอกเป็นเหลี่ยมหรือเป็นปีก ปลายกลีบกลม มน หรือรูปกระบอง ส่วนมากสีเขียว เหลือง หรือสีส้ม ดอกบาน หลอดยาว 6-12 มม. รูประฆังแคบ หรือกว้าง ปลายแยก 5 แฉก ม้วนกลับ อับเรณู ยาว 2-5 มม. ปลายมน เกสรเพศเมียมีก้านเกสร 1 อัน ยอดเกสรเป็นตุ่มกลม
ผล รูปไข่ [8] |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม หรือเรียงกระจัดกระจาย รูปใบมีหลายแบบ ส่วนมากรุ)รีแคบ หรือกว้าง กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-13 ซม. ปลายใบส่วนใหญ่มน แหลม หรือเรียวแหลมเป็นส่วนน้อย โคนใบสอบแหลม หรือเป็นครีบ สีเขียวหม่น ด้านบนสีเข้มกว่าด้านล่าง เส้นกลางใบและส้นแขนงใบเห็นชัดทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 0.5-2 ซม.
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกแบบช่อกระจะ ตามข้อ แกนช่อดอกยาว 1-2 ซม. มี 6-12 ดอก แต่ละดอกมีใบประดับรองรับ 1 ใบ ก้านดอกยาว 1-4 มม. กลีบดอก 5 กลีบ ติดกันเป็นหลอด ยาว 1.2-2 ซม. ส่วนโคนดอกเป็นเหลี่ยมหรือเป็นปีก ปลายกลีบกลม มน หรือรูปกระบอง ส่วนมากสีเขียว เหลือง หรือสีส้ม ดอกบาน หลอดยาว 6-12 มม. รูประฆังแคบ หรือกว้าง ปลายแยก 5 แฉก ม้วนกลับ อับเรณู ยาว 2-5 มม. ปลายมน เกสรเพศเมียมีก้านเกสร 1 อัน ยอดเกสรเป็นตุ่มกลม
|
|
|
ผล |
ผล รูปไข่ [8] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผล รับประทานได้(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- ทั้งต้น ตากแห้ง ชงดื่มลดความดันโลหิต
ใบ ชงดื่มแก้ไอ ตำพอกแผล [8] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|