|
วงศ์ |
Poaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cymbopogon nardus Rendle |
|
|
ชื่อไทย |
จะไคมะขูด, ตะไคร้หอม |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- ตะไคร้หอม(ไทลื้อ,คนเมือง), จะแดพะโด(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กระโฮ่มเร่น(ปะหล่อง) - จะไคมะขูด ตะไครมะขูด (ภาคเหนือ) ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช) [7] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ขึ้นเป็นกอสูงถึง 2.5 ม. ยอดโน้มลง ขนเกลี้ยง มีรากฝอยแตกออกจากโคน
ใบ ใบล่าง ๆ กว้าง 2 ซม. ยาวถึง 1 ม. ใบบน ๆ เล็กกว่า ขอบและผิวใบสาก ขนเกลี้ยง ยกเว้นใกล้ ๆ ที่โคนลิ้นใบยาว 5 มม. เกลี้ยง
ดอก ออกเป็นช่อเล็กเรียว คดไปมา ปล้องยาว 1.5 – 2.5 ซม. มีใบเล็ก ๆ ที่แต่ละข้อ และตามง่ามจะแตกกิ่งสั้น ซึ่งประกอบด้วยช่อดอก 1 คู่ ยาวไม่เท่ากัน โดยมีกาบหุ้มยาว 1.5 – 2 ซม. ช่อดอกย่อยที่ไม่มีก้าน ยาว 4 – 4.5 มม. กาบช่อดอกย่อยอันล่าง (lower glume) เกลี้ยง แบน ปลายเรียวแหลม เป็นสันโดยที่สันมีปีกแคบ ๆ ที่ปลายและที่ปีกจักเป็นซี่ฟันเล็ก ๆ มีเส้นตามยาว 2 – 4 เส้น ขอบงอ อันบนรูปเรือ มีเส้นตามยาว 1 เส้น สันมีซี่ฟันที่ปลาย กาบดอกล่างยาว 3 มม. บาง เป็นครุย ไม่มีเส้นตามยาว กาบดอกบนคล้ายกันแต่สั้นกว่า ปลายจักเป็น 2 พูสั้น ๆ โดยมีขนแข็งที่รอยจัก อับเรณูยาว 1.5 มม. ส่วนช่อดอกย่อยที่มีก้าน มีลักษณะคล้ายกัน แต่สั้นกว่าเล็กน้อย ดอกย่อยบนเป็นดอกเพศผู้ไม่มีกาบดอก (lemma) [7]
ตะไคร้หอม C. nardus และตะไคร้ C. citratus ต่างกันที่กาบช่อดอกย่อยอันล่างของช่อดอกย่อยที่ไม่มีก้าน (lower glume ของ sessile spikelet) [7] |
|
|
ใบ |
ใบ ใบล่าง ๆ กว้าง 2 ซม. ยาวถึง 1 ม. ใบบน ๆ เล็กกว่า ขอบและผิวใบสาก ขนเกลี้ยง ยกเว้นใกล้ ๆ ที่โคนลิ้นใบยาว 5 มม. เกลี้ยง
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อเล็กเรียว คดไปมา ปล้องยาว 1.5 – 2.5 ซม. มีใบเล็ก ๆ ที่แต่ละข้อ และตามง่ามจะแตกกิ่งสั้น ซึ่งประกอบด้วยช่อดอก 1 คู่ ยาวไม่เท่ากัน โดยมีกาบหุ้มยาว 1.5 – 2 ซม. ช่อดอกย่อยที่ไม่มีก้าน ยาว 4 – 4.5 มม. กาบช่อดอกย่อยอันล่าง (lower glume) เกลี้ยง แบน ปลายเรียวแหลม เป็นสันโดยที่สันมีปีกแคบ ๆ ที่ปลายและที่ปีกจักเป็นซี่ฟันเล็ก ๆ มีเส้นตามยาว 2 – 4 เส้น ขอบงอ อันบนรูปเรือ มีเส้นตามยาว 1 เส้น สันมีซี่ฟันที่ปลาย กาบดอกล่างยาว 3 มม. บาง เป็นครุย ไม่มีเส้นตามยาว กาบดอกบนคล้ายกันแต่สั้นกว่า ปลายจักเป็น 2 พูสั้น ๆ โดยมีขนแข็งที่รอยจัก อับเรณูยาว 1.5 มม. ส่วนช่อดอกย่อยที่มีก้าน มีลักษณะคล้ายกัน แต่สั้นกว่าเล็กน้อย ดอกย่อยบนเป็นดอกเพศผู้ไม่มีกาบดอก (lemma) [7]
ตะไคร้หอม C. nardus และตะไคร้ C. citratus ต่างกันที่กาบช่อดอกย่อยอันล่างของช่อดอกย่อยที่ไม่มีก้าน (lower glume ของ sessile spikelet) [7]
|
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ ขยี้ถูตามร่างกายช่วยป้องกันยุงกัด(ไทลื้อ)
ลำต้น มีกลิ่นหอม ช่วยไล่ยุง(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ต้น ปลูกรอบบ้าน คอกสัตว์เลี้ยง เพื่อไล่ยุง(ปะหล่อง)
- ใบ นำไปทำน้ำหมัก ใช้เป็นยาฆ่าแมลง(ปะหล่อง)
ใบ นำไปเผาไฟ ใช้ไล่ยุง หรือทำน้ำหมัก ใช้พ่นไล่แมลง(คนเมือง)
- ใบ ขยี้ทาตัวกันยุงกัดและแมลงรบกวน(คนเมือง)
- ต้น ใช้เป็นยาแก้ปากแตกระแหง แก้ริดสีดวงในปาก ขับลมในลำไส้ แก้แน่น ขับโลหิตระดูหรือผู้ที่มีครรภ์ทานเข้าไปจะทำให้แท้งได้ นอกจากนี้ยังจะแก้โรคต่าง ๆ ได้แต่ก็ไม่ระบุว่าเป็นส่วนใดของลำต้น เช่น แก้แผลในปาก แก้ตานชางในลิ้นและปาก บำรุงไฟธาตุ แก้ไข้ แก้อาเจียน และแก้ริดสีดวงตา [1]
- นอกจากจะเป็นพืชทางยาที่ใช้เดี่ยว ๆ แล้วนำไปผสมรวมกับสมุนไพรอื่น ๆ จะเป็นยาได้ เช่น
ต้น แก้ลมพานไส้ แก้ธาตุ แก้เลือดลมไม่ปกติ
ราก แก้ลมจิตรวาด หัวใจกระวนกระวายฟุ้งซ่าน
ใบ ใช้เป็นยาคุมกำเนิด ชำระล้างลำไส้มิให้เกิดซาง
น้ำมัน ทาป้องกันยุง[1]
- ราก และ ต้น แก้แผลในปาก แก้ปากแตกระแหง ทำให้แห้ง ขับระดู ขับลมในลำไส้ แก้อาการแน่นจุกเสียด แก้อาเจียน แก้ไข้ น้ำมันจากต้นทาป้องกันยุง [7] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|