|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
Lapine, Lemon grass - Lemon Grass[3]
|
Lapine, Lemon grass - Lemon Grass[3]
Cymbopogon citratus Stapf |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Poaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cymbopogon citratus Stapf |
|
|
ชื่อไทย |
จะไคร, ตะไคร้ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- จ่าก่าน(เมี่ยน), เพาะหว่อเซโป(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เต๊าก๊ะ(ม้ง), กะโฮ่ม(ปะหล่อง) - คาหอม (เงี้ยว – แม่ฮ่องสอน) ไคร (ภาคใต้) จะไคร (ภาคเหนือ) เชิดเกรยเหลอะเกรย (เขมร – สุรินทร์) ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน) หัวสิงไค (เขมร – ปราจีนบุรี) [7] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ล้มลุก จำพวกหญ้า มีอายุหลายปี ลำต้นเป็นกอใหญ่ สูงประมาณ 2 ม. แตกใบหนาแน่นที่โคนต้น มีกลิ่นหอม กาบใบเล็กเรียว เกลี้ยง
ใบ รูปแถบ เรียวแหลม กว้าง 2 ซม. ยาวถึง 90 ซม. ลิ้นใบยาว 2 มม.
ดอก ออกเป็นช่อแตกกิ่งก้านกระจาย โค้งลง ช่อดอกย่อยแบนออกเป็นคู่ ช่อหนึ่งไม่มีก้านและอีกช่อหนึ่งมีก้าน ช่อดอกย่อยที่ไม่มีก้าน ยาว 6 มม. รูปยาวแคบ กาบช่อดอกย่อย (glume) อันล่าง ค่อนข้างแบนไปยังโคน หรือด้านหลังแบนลง เป็นสันและสันค่อย ๆ แคบไปยังปลายประมาณ 2 ใน 3 สันจักเป็นซี่ฟัน ไม่เห็นเส้นตามยาว อันบนค่อนข้างเป็นรูปเรือ เป็นสันตอนบน มีเส้นตามยาว 1 เส้น กาบล่างของดอก (lemma) บาง ยาวพอ ๆ กับกาบช่อดอกย่อย มักมีเส้นตามยาว 2 เส้น ขอบเรียบ กาบอันบนสั้นกว่าเล็กน้อย ส่วนช่อดอกย่อยที่มีก้าน มีขนาดสั้นกว่าเล็กน้อย กาบช่อดอกย่อยอันล่างมีเส้นตามยาว 5 เส้น หรือมากกว่า อาจจะเหมือนกับช่อดอกย่อยที่ไม่มีก้าน แต่ดอกย่อยอันบนเป็นดอกเพศผู้ [7] |
|
|
ใบ |
ใบ รูปแถบ เรียวแหลม กว้าง 2 ซม. ยาวถึง 90 ซม. ลิ้นใบยาว 2 มม.
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อแตกกิ่งก้านกระจาย โค้งลง ช่อดอกย่อยแบนออกเป็นคู่ ช่อหนึ่งไม่มีก้านและอีกช่อหนึ่งมีก้าน ช่อดอกย่อยที่ไม่มีก้าน ยาว 6 มม. รูปยาวแคบ กาบช่อดอกย่อย (glume) อันล่าง ค่อนข้างแบนไปยังโคน หรือด้านหลังแบนลง เป็นสันและสันค่อย ๆ แคบไปยังปลายประมาณ 2 ใน 3 สันจักเป็นซี่ฟัน ไม่เห็นเส้นตามยาว อันบนค่อนข้างเป็นรูปเรือ เป็นสันตอนบน มีเส้นตามยาว 1 เส้น กาบล่างของดอก (lemma) บาง ยาวพอ ๆ กับกาบช่อดอกย่อย มักมีเส้นตามยาว 2 เส้น ขอบเรียบ กาบอันบนสั้นกว่าเล็กน้อย ส่วนช่อดอกย่อยที่มีก้าน มีขนาดสั้นกว่าเล็กน้อย กาบช่อดอกย่อยอันล่างมีเส้นตามยาว 5 เส้น หรือมากกว่า อาจจะเหมือนกับช่อดอกย่อยที่ไม่มีก้าน แต่ดอกย่อยอันบนเป็นดอกเพศผู้ [7] |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เหง้า ประกอบอาหารและเป็นเครื่องเทศ(เมี่ยน,ม้ง)
ลำต้นและใบ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารต่างๆ เช่น น้ำพริก แกง ยำ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่,คนเมือง)
- เหง้า เป็นส่วนประกอบในยาอาการลมชัก(ปะหล่อง)
เหง้า ทุบแล้วห่อแผลสดทำให้แผลหายเร็วและบรรเทาอาการเจ็บ(ม้ง)
- เหง้า ทุบแล้วนำไปดามขาโต๊ะแล้วอธิษฐาน ขอให้ไก่ที่ขาหักหาย จากอาการขาหัก (แต่ต้องขังไก่ไว้ด้วย)(เมี่ยน)
- ราก แก้ไข้ ปวดท้องและท้องเสีย ต้น ขับลม ขับเหงื่อ แก้ผมแตกปลาย ใช้ดับกลิ่นคาวในอาหาร แก้เบื่ออาหาร แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว หัว แก้ท้องอืดเฟ้อและแน่นจุกเสียด แก้อาเจียนสำหรับหญิงมีครรภ์ เป็นยานอนหลับ ยาบำรุง แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและนิ่ว ใบสด ช่วยลดความดันโลหิต แก้ไข้ [7]
- ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดได้ และยังสามารถใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับ ลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลม
ใบ ใบสดๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังดับกลิ่นคาวอีกด้วย [1]
- สรรพคุณความเชื่อ
ตะไคร้รสเผ็ดร้อน ช่วยลดความดันโลหิตสูง ขับเหงื่อ แก้หวัดลมเย็น ปวดศีรษะ แก้อาการขัดเมา ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ระงับอาการปวดเกร็งตามร่างกาย
น้ำมันตะไคร้แต่งกลิ่นใช้เป็นเครื่องหอมในสบู่ ยาหม่องหรือทำเป็นเครื่องพ่นทาผิวหนัง เป็นยากันแมลง
แก้อาการท้องอืดเฟ้อ แน่น จุกเสียด ขับลมในลำไส้ บรรเทาอาการไอ รักษาอาการอ่อนเพลีย โดยนำตะไคร้สดต้มน้ำดื่ม
แก้อาการปวดเมื่อยตามตัว โดนนำตะไคร้สดมาต้มกับน้ำใช้อาบ
รักษาอาการข้อเท้าแพลง ปวดบั้นเอว นำต้นตะไคร้สดทุบพอแตก ขยี้ทาบริเวณที่เป็น
แก้อาการปวดบวมตามข้อ โดยใช้น้ำมันตะไคร้ทาบริเวณที่ปวดบวม
น้ำมันตะไคร้มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อรา ช่วยไล่ยุงและแมลงต่างๆ
ใบสด รสปร่า ลดความดันโลหิต แก้ไข้ ช่วยเจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะอ่อนๆ ทำให้ประจำเดือนเป็นปกติ
ต้นเทียม (กาบใบ) รสหอมร้อนปร่า ขับลม แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้นิ่ว ดับกลิ่นคาว เจริญอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเสีย แก้ไอ คัดจมูก ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เลือกกำเดา
เหง้า รสปร่าร้อน แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุ แก้กษัย ขับลมในลำไส้ แก้ปัสสาวะขัด ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว แก้ริดสีดวง คัดจมูก เลือดกำเดา
ทั้งต้น รสหอมปร่า แก้หืด แก้ปวดท้อง ท้องอืดเฟ้อ จุกเสียด ท้องเสีย ประจำเดือนผิดปกติ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ขับเหงื่อ แก้ไข้ ปวดศีรษะ ไอ คัดจมูก ปวดข้อ ปวดเมื่อย
ราก รสปร่าร้อน แก้ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ช่วยเจริญอาหาร
น้ำมันจากลำต้นเทียมและใบ รสเผ็ดร้อนลดการบีบตัวของลำไส้ ขับลม ขับเหงื่อ แก้ปวดเมื่อย มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา แบคทีเรีย และเกลื้อน [3] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|