|
วงศ์ |
Menispermaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cyclea barbata Miers |
|
|
ชื่อไทย |
กรุงบาดาล, ใบก้นปิด |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ยาแก้ปู่หมาย(คนเมือง), สะมึสะม้าด(ลั้วะ), บ่ะกจาด มึ กจาด(ลั้วะ) - กรุงบาดาล (ภาคตะวันออกเฉียงใต้) หมอน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กรุงเขมา (ภาคใต้) ใบก้นปิด (ภาคกลาง) [8] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้เลื้อย กิ่งก้านเล็กเรียว ยาวถึง 5 มม. รากใหญ่ยาว ลำต้นไม่มีเนื้อไม้ หรือมีเนื้อไม้เมื่ออ่อนมีขนแข็ง เมื่อแก่เกลี้ยง
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่ รูปไข่แกมสามเหลื่ยม หรือรูปไข่กว้าง กว้าง 4-12.5 ซม. ยาว 6-17.5 ซม. ปลายเรียวแหลม หรือมน มีติ่งแหลมเล็ก โคนเว้าเป็นแอ่งเล็กน้อย ตัด หรือกลม ขอบใบมีขนแข็ง มีเส้นใบออกจากโคนใบรูปฝ่ามือ ด้านบนมีขนสาก หรือค่อนข้างเกลี้ยง ด้านล่างมีขนเล็กน้อย เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ ก้านใบยาว 3-6.5 ซม. ติดใต้ใบเหนือโคนขึ้นมา 6-25 มม. มีขนสาก
ดอก ออกเป็นช่อ แยกเป็นช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมีย ช่อดอกเพศผู้ ออกตามง่ามใบและตามลำต้น กว้าง 0.5-4(-12) ซม. ยาว 7-12(-30) ซม. มีขนเล็กน้อย ดอกเป็นกระจุกอยู่ห่างๆ มีขน ดอกเพศผู้ มีก้านดอกย่อยยาว 1-2 มม. กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน รูประฆังยาว 1.5-2 มม. มีขน ปลายเป็นพูรูปสามเหลี่ยม 4 (หรือ 5) พู กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนเชื่อมเป็นรูปถ้วยขอบเป็นพูตัด หรือกลม ยา 0.75 มม. เกลี้ยง เกสรเพศผู้เชื่อมกัน ยาว 1.5-2 มม. มักจะโผล่พ้นขึ้นมา ช่อดอกเพศเมีย คล้ายช่อดอกเพศผู้ แต่มักจะกว้างกว่า กว้าง 3-7 ซม. ยาว 11-19 ซม. ดอกเพศเมีย ไม่มีก้านดอกย่อย เป็นกระจุกกลม กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ รูปกลม หรือรูปไข่กลับ กว้างยาวประมาณ 0.5 มม. ด้านนอกมีขน กลีบดอกมี 2 กลีบ ค่อนข้างเป็นรูปไต ติดตรงข้ามกับกลีบเลี้ยง และกว้างกว่ามาก กว้าง 0.75-1 มม. ยาว 0.5 มม. เกลี้ยง เกสรเพศเมียมี 1 อัน ยาวประมาณ 1 มม. มีขนหนาแน่น ยอดเกสรเพศเมียจักเป็นครุย 3 แฉก
ผล สด ทรงกลม หรือรูปไข่กลับ กว้าง 4-5.5 มม. ยาว 5-7 มม. มีขนเล็กน้อย ผนังผลชั้นในมีตุ่มอยู่ 4 แถวทางด้านบน และมีสันค่อนข้างเรียบ โค้งเป็นแนวทั้งสองด้าน [8] |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่ รูปไข่แกมสามเหลื่ยม หรือรูปไข่กว้าง กว้าง 4-12.5 ซม. ยาว 6-17.5 ซม. ปลายเรียวแหลม หรือมน มีติ่งแหลมเล็ก โคนเว้าเป็นแอ่งเล็กน้อย ตัด หรือกลม ขอบใบมีขนแข็ง มีเส้นใบออกจากโคนใบรูปฝ่ามือ ด้านบนมีขนสาก หรือค่อนข้างเกลี้ยง ด้านล่างมีขนเล็กน้อย เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ ก้านใบยาว 3-6.5 ซม. ติดใต้ใบเหนือโคนขึ้นมา 6-25 มม. มีขนสาก
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อ แยกเป็นช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมีย ช่อดอกเพศผู้ ออกตามง่ามใบและตามลำต้น กว้าง 0.5-4(-12) ซม. ยาว 7-12(-30) ซม. มีขนเล็กน้อย ดอกเป็นกระจุกอยู่ห่างๆ มีขน ดอกเพศผู้ มีก้านดอกย่อยยาว 1-2 มม. กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน รูประฆังยาว 1.5-2 มม. มีขน ปลายเป็นพูรูปสามเหลี่ยม 4 (หรือ 5) พู กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนเชื่อมเป็นรูปถ้วยขอบเป็นพูตัด หรือกลม ยา 0.75 มม. เกลี้ยง เกสรเพศผู้เชื่อมกัน ยาว 1.5-2 มม. มักจะโผล่พ้นขึ้นมา ช่อดอกเพศเมีย คล้ายช่อดอกเพศผู้ แต่มักจะกว้างกว่า กว้าง 3-7 ซม. ยาว 11-19 ซม. ดอกเพศเมีย ไม่มีก้านดอกย่อย เป็นกระจุกกลม กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ รูปกลม หรือรูปไข่กลับ กว้างยาวประมาณ 0.5 มม. ด้านนอกมีขน กลีบดอกมี 2 กลีบ ค่อนข้างเป็นรูปไต ติดตรงข้ามกับกลีบเลี้ยง และกว้างกว่ามาก กว้าง 0.75-1 มม. ยาว 0.5 มม. เกลี้ยง เกสรเพศเมียมี 1 อัน ยาวประมาณ 1 มม. มีขนหนาแน่น ยอดเกสรเพศเมียจักเป็นครุย 3 แฉก
|
|
|
ผล |
ผล สด ทรงกลม หรือรูปไข่กลับ กว้าง 4-5.5 มม. ยาว 5-7 มม. มีขนเล็กน้อย ผนังผลชั้นในมีตุ่มอยู่ 4 แถวทางด้านบน และมีสันค่อนข้างเรียบ โค้งเป็นแนวทั้งสองด้าน [8] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- หัวใต้ดิน หั่นเป็นแว่น ตากให้แห้งแล้วบดเป็นผงผสมผงหัวไพลบด รับประทานแก้อาการท้องอืด(คนเมือง)
เครือ ในสมัยก่อนใช้มัดเพื่อยึดโครงสร้างต่างๆ ของบ้านให้มั่นคงแทนการตอกตะปู(ลั้วะ)
ลำต้นใต้ดิน ต้มน้ำดื่มแก้อาการเจ็บท้อง มีรสขม(ลั้วะ)
- ราก ในอินโดนีเซีย น้ำต้มใช้แก้ไข้ แก้ปวดท้อง ใบ ตำใส่น้ำ ทิ้งไว้เป็นเยลลี่ กินเป็นยาช่วยย่อย แก้ปวดท้อง [8] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|