|
วงศ์ |
Zingiberaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Curcuma comosa Roxb. |
|
|
ชื่อไทย |
ว่านชักมดลูก |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ว่านชักมดลูก(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร หัวใต้ดินขนาดใหญ่ อาจยาวถึง 10 ซม. เนื้อสีส้มถึงสีส้มแดง ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกเหนือดิน รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอกกว้าง 15 - 20 ซม. ยาว 40 - 90 ซม. มีแถบสีม่วงกว้างได้ถึง 10 ซม. บริเวณกลางใบ ดอกช่อเชิงลด ออกที่บริเวณกาบใบ ก้านดอกยาว 15 - 20 ซม. กลีบดอกสีแดงอ่อน ใบประดับสีม่วง เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แปรรูปคล้ายกลีบดอกสีเหลือง ผลแห้ง แตกได้ |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยวออกเรียงสลับเป็นกระจุกใกล้ราก ใบรูปขอบขนานแกมรูปรี |
|
|
ดอก |
ดอกเป็นช่อมีสีชมพู แทงออกจากพื้นดิน เกสรเพศผู้สีขาวเป็นหมัน ใบประดับที่ไม่ได้รองรับดอกย่อยมีสีม่วง ส่วนใบประดับที่รองรับดอกย่อยมีสีเขียวอ่อน |
|
|
ผล |
ผลแห้งแตกออกได้ |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- หัวใต้ดิน ต้มน้ำดื่มสำหรับผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตร เพื่อช่วย ให้มดลูกเข้าอู่ แก้อาการปวดท้องน้อย และบำรุงเลือด(คนเมือง)
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นในดินร่วนซุย ระบายน้ำดี แสงแดดรำไร |
|
|
เอกสารประกอบ |
|