ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Cushaw - Pumpkin, Butternut squash, Cushaw, Field pumpkin, Squash, Winter squash [3]
- Cushaw - Pumpkin, Butternut squash, Cushaw, Field pumpkin, Squash, Winter squash [3]
Cucurbita moschata Duchesne
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Cucurbitaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucurbita moschata Duchesne
 
  ชื่อไทย ฟักทอง
 
  ชื่อท้องถิ่น - หลู่แคะซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ฟักแก้ว(คนเมือง), เต้า(ม้ง), ต่อกร่วน(ปะหล่อง), แผละลัก(ลั้วะ) - น้ำเต้า (ภาคใต้), มะฟักแก้ว ฟักแก้ว ฟักเขียว (ภาคเหนือ), มะน้ำแก้ว (เลย), หมักอื่อ (เลย-ปราจีนบุรี),หมากอึ (ภาคอีสาน), หมากฟักเหลือง (แม่ฮ่องสอน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้เถา, มีขนนุ่ม, ลำต้นแข็งปานกลาง, กลม หรือเหลี่ยมมน ๆ 5 เหลี่ยม; มือเกาะมี 3 – 4 แขนง.
ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน; กว้างและยาว 20 – 30 ซม.; ขอบใบหยักเล็ก ๆ , เว้าเป็นแฉกตื่น ๆ หรือเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม, ปลายใบมน; มีขนทั้งสองด้าน, บางครั้ง, อาจมีด่างขาวเป็นดวง ๆ ; ก้านใบยาว 12 – 30 ซม., แผ่นใบรูปกลมหรือรูปไต, โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจกว้าง ๆ ,
ดอก ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ, ดอกตูมปลายแหลม; ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียเกิดบนต้นเดียวกัน, ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาว, กลีบรองกลีบดอก, เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง, ปลายแยกเป็น 5 กลีบ, มักจะมีลักษณะแบน, คล้ายใบ, ยาวถึง 5 ซม.; กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม, ยาว 10 – 12 ซม., เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง, เช่นเดียวกับกลีบรองกลีบดอก, ปลายแยกเป็น 5 กลีบ, ลึกประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวของกลีบ; เกสรผู้ 3 อัน, ติดกันเป็นแท่ง, ยาวประมาณ 4 ซม. ดอกเพศเมีย ก้านดอกสั้น, กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก, มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้; รับไข่ภายในมี 1 ช่อง, ท่อรับไข่สั้น, ปลายท่อแยกเป็น 3 แฉกใหญ่, ยาว 2 ซม., สีส้มสดหรือเขียว.
ผล ก้านเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม, แข็ง, ผลมีรูปร่างและขนาดต่าง ๆ กัน, กลมแป้น, เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 – 40 ซม., เป็นพูเล็ก ๆ ตลอดรอบผล, ผิวไม่แข็ง, สีเขียวเข้มอมน้ำเงินหรืออมเทา อาจด่างเหลืองเป็นทางหรือแต้มเป็นจุดกระจายทั่วไป, เนื้อสีเหลือง, เหลืองอมเขียวหรือสีส้มเข้ม, ตรงกลางฟุพรุน, มีเมล็ดติดอยู่จำนวนมาก, เมล็ด แบน, ขอบแข็งเป็นสัน, สีเข้ม. [6]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน; กว้างและยาว 20 – 30 ซม.; ขอบใบหยักเล็ก ๆ , เว้าเป็นแฉกตื่น ๆ หรือเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม, ปลายใบมน; มีขนทั้งสองด้าน, บางครั้ง, อาจมีด่างขาวเป็นดวง ๆ ; ก้านใบยาว 12 – 30 ซม., แผ่นใบรูปกลมหรือรูปไต, โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจกว้าง ๆ ,
 
  ดอก ดอก ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ, ดอกตูมปลายแหลม; ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียเกิดบนต้นเดียวกัน, ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาว, กลีบรองกลีบดอก, เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง, ปลายแยกเป็น 5 กลีบ, มักจะมีลักษณะแบน, คล้ายใบ, ยาวถึง 5 ซม.; กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม, ยาว 10 – 12 ซม., เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง, เช่นเดียวกับกลีบรองกลีบดอก, ปลายแยกเป็น 5 กลีบ, ลึกประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวของกลีบ; เกสรผู้ 3 อัน, ติดกันเป็นแท่ง, ยาวประมาณ 4 ซม. ดอกเพศเมีย ก้านดอกสั้น, กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก, มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้; รับไข่ภายในมี 1 ช่อง, ท่อรับไข่สั้น, ปลายท่อแยกเป็น 3 แฉกใหญ่, ยาว 2 ซม., สีส้มสดหรือเขียว.
 
  ผล ผล ก้านเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม, แข็ง, ผลมีรูปร่างและขนาดต่าง ๆ กัน, กลมแป้น, เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 – 40 ซม., เป็นพูเล็ก ๆ ตลอดรอบผล, ผิวไม่แข็ง, สีเขียวเข้มอมน้ำเงินหรืออมเทา อาจด่างเหลืองเป็นทางหรือแต้มเป็นจุดกระจายทั่วไป, เนื้อสีเหลือง, เหลืองอมเขียวหรือสีส้มเข้ม, ตรงกลางฟุพรุน, มีเมล็ดติดอยู่จำนวนมาก, เมล็ด แบน, ขอบแข็งเป็นสัน, สีเข้ม.
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อนและผล ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง ผัดหรือลวก จิ้มน้ำพริก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่,ลั้วะ)
ผล ใช้ประกอบอาหาร เช่น ผัด หรือลวกกินกับน้ำพริก(คนเมือง)
ยอดอ่อนและผลอ่อน นำไปลวกกินจิ้มน้ำพริก, ผลแก่ นำมาประกอบอาหารเช่น แกง นึ่งหรือทำเป็นขนม(ปะหล่อง)
ยอดอ่อน ใช้ประกอบอาหาร เช่น ผัดหรือแกง ผล นึ่งรับประทาน กับน้ำพริกหรือใส่แกงจืด(ม้ง)
- ก้านผล เป็นส่วนประกอบในยาอาการลมชัก(ปะหล่อง)
- ราก น้ำต้มราก, กินเป็นยาบำรุงร่างกาย แก้ไอ และแก้พิษของฝิ่น ต้น ยอดอ่อนกินได้ ผล ใช้เป็นอาหาร, สามารถเก็บเอาไว้ได้นานเมื่อแก่จัด เป็นยาระบายอย่างอ่อน, เยื่อฟุพรุนภายในผลใช้เป็นยาพอกแก้ฟกช้ำ, แก้ปวดอักเสบ; น้ำมันผล กินเป็นยาบำรุงประสาท เมล็ด เนื้อเมล็ดสด หรือ ทำเป็น emulsion เสียก่อน, กินเป็นยาขับพยาธิตัวตืดได้อย่างปลอดภัย, ขับปัสสาวะ และบำรุงร่างกาย [6]
- สรรพคุณความเชื่อ
เมล็ด รสมัน เป็นยาขับพยาธิตัวตืด ป้องกันการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และช่วยดับพิษปอดบวม
น้ำมันจากเมล็ด รสหวานมัน บำรุงประสาท
ราก รสเย็น ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้อาการปวดศีรษะข้างเคียง ต้มน้ำดื่มบำรุงร่างกาย แก้ไอ ถอนพิษฝิ่น
ยาง ช่วยแก้พิษผื่นคัน เริม และงูสวัด
ยอดและใบอ่อน แก้โรคธาตุพิการ แก้บิด
ใบ ตำพอกบริเวณแผลผีหนองและบริเวณที่ปวดแสบปวดร้อน
ผลแก่ แก้กระหายน้ำ แก้เลือดออกตามไรฟัน ป้องกันมะเร็ง โรคหัวใจ
เนื้อในผลรสเย็น พอกแก้แผลไฟไหม้ แก้น้ำร้อนลวก ขับพยาธิ มีวิตามินเอสูงช่วยบำรุงสายตา
เยื่อกลางผล รสหวานเย็น พอกแก้ฟกช้ำ แก้ปวดอักเสบ
ขั้วผล รสเย็น ฝนกับน้ำมะนาวผสมเศษผ้าฝ้าย เผาไฟรับประทานแก้พิษกิ้งกือ [3]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง