|
วงศ์ |
Rubiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Morinda angustifolia Roxb. var. angustifolia |
|
|
ชื่อไทย |
ยอดิน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
เคาะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ยอดิน(คนเมือง), ฮากเหลือง, ชะลัก(ขมุ), ไม้บ้า(ปะหล่อง), บ่ะสุโค้ม(ลั้วะ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางเปลือกสีน้ำตาลเหลือง เมื่อแก่แตกเป็นร่องขรุขระสีน้ำตาลเหลืองเนื้อไม้สีเหลือง
|
|
|
ใบ |
ใบ ใบเดียวรูปหอกหลังใบและท้องใบเกลี้ยง ปลายใบแหลมแคบกว่ายอบ้านขอบเรียบ เส้นใบตื้นไม่ลึกเหมือนยอบ้าน สีเขียวอมเหลือง |
|
|
ดอก |
ดอก ดอกเล็กเป็นช่อออกตามง่ามใบ กลีบดอกสีขาวโคนกลีบติดกัน กลีบดอกเรียวแหลม ดอกหนึ่งมีประมาณ 6 กลีบ |
|
|
ผล |
ผล ผลกลมมีตาเป็นตุ่มรอบผล ผิวของผลเรียบขนาดเล็กและกลมกว่ายอบ้าน |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ นำมาต้มน้ำดื่มหรือเคี้ยวกินสด แก้อาการปวดท้อง ท้องอืด(ลั้วะ)
ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคความดันสูง(ขมุ)
- ราก ทุบให้ละเอียด นำไปต้ม จนได้น้ำสี แล้วนำฝ้ายลงไปต้ม ใช้ย้อมผ้า ให้สีส้มถึงสีแดง(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ราก ใช้ย้อมผ้า ให้สีส้มแดง(คนเมือง)
ราก สับให้ละเอียดแล้วใช้เป็นส่วนประกอบในกรรมวิธีการย้อมสีหวายที่ใช้เป็นกำไลประดับเอวผู้หญิงให้เป็นสีแดง (น้ำยาสำหรับย้อมสีประกอบด้วย ยอดิน, หน่อมลิ้น และปรางด่อดู้(ปะหล่อง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|