ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Cape lily, Crinum lily
Cape lily, Crinum lily
Crinum asiaticum L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Amaryllidaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Crinum asiaticum L.
 
  ชื่อไทย พลับพลึง
 
  ชื่อท้องถิ่น - ดอกเรรัว(ลั้วะ), ด่อปั้นอ้อย(ปะหล่อง) - ลิลัว (ภาคเหนือ), พลับพลึง (ภาคเหนือ) [1]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกขึ้นเป็นกอ และมีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นกลมมีความกว้างประมาณ 15 ซม. และยาวประมาณ 30 ซม.
ใบ จะออกรอบๆ ลำต้น ลักษณะใบแคบยาวเรียว ใบจะอวบน้ำ ขอบใบจะเป็นคลื่น ตรงปลายใบจะแหลม ใบจะมีความยาวประมาณ 1 เมตร และกว้างประมาณ 10-15 ซม.
ดอก จะออกเป็นช่อ ตรงปลายจะเป็นกระจุกมีประมาณ 12-40 ดอก ตอนดอกยังอ่อนอยู่จะมีกาบเป็นสีเขียวอ่อนๆ หุ้มอยู่ 2 กาบ ก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 90 ซม. ดอกมีความยาวประมาณ 15 ซม. กลีบดอกจะเป็นสีขาว และมีกลิ่นหอม เกสร เกสรตัวผู้จะมีอยู่ 6 อัน ติดอยู่ที่หลอดดอกตอนโคน ตรงปลายเกสรมีลักษณะเรียวแหลมยาวเป็นสีแดง โคนเป็นสีขาวส่วนอับเรณูนั้น จะเป็นสีน้ำตา
ผล ผลจะเป็นสีเขียวอ่อน และผลค่อนข้างกลม [1]
 
  ใบ ใบ จะออกรอบๆ ลำต้น ลักษณะใบแคบยาวเรียว ใบจะอวบน้ำ ขอบใบจะเป็นคลื่น ตรงปลายใบจะแหลม ใบจะมีความยาวประมาณ 1 เมตร และกว้างประมาณ 10-15 ซม.
 
  ดอก ดอก จะออกเป็นช่อ ตรงปลายจะเป็นกระจุกมีประมาณ 12-40 ดอก ตอนดอกยังอ่อนอยู่จะมีกาบเป็นสีเขียวอ่อนๆ หุ้มอยู่ 2 กาบ ก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 90 ซม. ดอกมีความยาวประมาณ 15 ซม. กลีบดอกจะเป็นสีขาว และมีกลิ่นหอม เกสร เกสรตัวผู้จะมีอยู่ 6 อัน ติดอยู่ที่หลอดดอกตอนโคน ตรงปลายเกสรมีลักษณะเรียวแหลมยาวเป็นสีแดง โคนเป็นสีขาวส่วนอับเรณูนั้น จะเป็นสีน้ำตา
 
  ผล ผล ผลจะเป็นสีเขียวอ่อน และผลค่อนข้างกลม
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบ ตำผสมกับตะไคร้และข่า หมกไฟแล้วพอกบริเวณที่ปวดกระดูก(ปะหล่อง)
- ดอก นำไปวัดหรือบูชาพระ(ลั้วะ)
- ใบ จะมีรสเอียน นำไปต้มกินทำให้อาเจียน หรือใช้ใบพันรักษาอาการพกช้ำบวม เคล็ด ขัด ยอก แพลง จะถอนพิษได้ดี หรือจะใช้ใบพลับพลึงอย่างเดียว หรืออาจใช้ปนกับชนิดอื่นๆ แล้วนำไปตำบริเวณที่ปวด ใช้รักษาอาการปวดศีรษะ อาการบวม และลดอาการไข้
หัว จะมีรสขม ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ขับเสมหะ เป็นยาระบาย ทำให้คลื่นเหียน อาเจียน รักษาโรคที่เกี่ยวกับปัสสาวะ รักษาโรคเกี่ยวกับน้ำดี นอกจากนี้ในหัวยังมีสาร alkaloid narcissine
เมล็ด ใช้เป็นยาบำรุง ยาระบาย ขับเลือดประจำเดือนและขับปัสสาวะ
ราก เคี้ยวให้แหลกจนเป็นน้ำ แล้วกลืนเอาแต่น้ำเข้าไป จะทำให้อาเจียน ใช้รักษาพิษยางน่อง หรือใช้ตำพอกแผล [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[2] สมพร ภูติยานันต์, 2546. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง