|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
ติ้วขาว, ติ้วขน
|
ติ้วขาว, ติ้วขน
Cratoxylum formosum (Jack) Dyer subsp.pruniflorum (Kurz) Gogel. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Hypericaceae (Clusiaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cratoxylum formosum (Jack) Dyer subsp.pruniflorum (Kurz) Gogel. |
|
|
ชื่อไทย |
ติ้วขาว, ติ้วขน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ลำติ้ว(ลั้วะ), ไม้คี่(ไทใหญ่), ไม้ติ้ว(ไทลื้อ), ไม้ติ้วแดง(คนเมือง), ดงสะเป่า(ม้ง), ตุ๊ดจรึ่ม(ขมุ), ไม้ขี้ติ้ว(คนเมือง), ไฮ่สะเยจ้หมาอ่อง(ปะหล่อง), เดี๋ยงติง(เมี่ยน) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้น สูง 10 – 35 ม. ผลัดใบ โคนต้นมีหนาม เปลือกสีเทา มีรอยแตกเป็นเกล็ด
ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี รูปขอบขนาน รูปหอก หรือรูปไข่ กว้าง 1 – 7 ซม. ยาว 3.5 – 14 ซม. ปลายใบแหลม มีติ่งสั้น ๆ หรือกลม โคนใบกลม หรือแหลมป้าน ๆ ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 5 – 15 มม.
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ง่ามกิ่ง หรือตามลำต้น มีดอกช่อละ 1 – 6 ดอก ก้านดอกยาว 3 – 10 มม. มีขน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ด้านนอกมีขนหนาแน่น กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาว ชมพูอ่อนถึงชมพูแก่ เกสรเพศผู้ติดเป็นกลุ่ม ๆ อับเรณูมีต่อมที่ปลาย ก้านเกสรเพศเมียมี 3 อัน
ผล รูปรีกว้าง 4 – 6 มม. ยาว 10 – 16 มม. กลีบเลี้ยงติดทนจนเป็นผล ภายในมี 3 ช่อง แก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง เมล็ดรูปใบหอกกลับ มีปีก ช่องหนึ่งมี 12 – 17 เมล็ด [7] |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี รูปขอบขนาน รูปหอก หรือรูปไข่ กว้าง 1 – 7 ซม. ยาว 3.5 – 14 ซม. ปลายใบแหลม มีติ่งสั้น ๆ หรือกลม โคนใบกลม หรือแหลมป้าน ๆ ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 5 – 15 มม.
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ง่ามกิ่ง หรือตามลำต้น มีดอกช่อละ 1 – 6 ดอก ก้านดอกยาว 3 – 10 มม. มีขน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ด้านนอกมีขนหนาแน่น กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาว ชมพูอ่อนถึงชมพูแก่ เกสรเพศผู้ติดเป็นกลุ่ม ๆ อับเรณูมีต่อมที่ปลาย ก้านเกสรเพศเมียมี 3 อัน
|
|
|
ผล |
ผล รูปรีกว้าง 4 – 6 มม. ยาว 10 – 16 มม. กลีบเลี้ยงติดทนจนเป็นผล ภายในมี 3 ช่อง แก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง เมล็ดรูปใบหอกกลับ มีปีก ช่องหนึ่งมี 12 – 17 เมล็ด |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เปลือกต้น เคี้ยวกินกับพลูหรือหมาก (ไทใหญ่)
ยอดอ่อน รับประทานกับลาบหรือน้ำพริก(ลั้วะ)
ยอดอ่อน รับประทานสดกับลาบ มีรสเปรี้ยวปนฝาด(ปะหล่อง)
ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก(คนเมือง)
- น้ำยาง ใช้เป็นยาสมานแผลเช่น แผลมีดบาด ช่วยห้ามเลือด ได้(คนเมือง)
ใบ ใช้ปิดแผลสด (ใช้แทนพลาสเตอร์ปิดแผล)(เมี่ยน)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ลั้วะ)
เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้าง เช่น ใช้สร้างรั้ว(ลั้วะ)
เนื้อไม้ ใช้ทำโครงสร้างบ้านมีความทนทานมาก ปลวกไม่กินเพราะเนื้อไม้มีน้ำยาง(ขมุ)
เนื้อไม้ ใช้สร้างขื่อบ้าน(ม้ง)
- เปลือกต้น ใช้ย้อมผ้า ให้สีน้ำตาลเข้ม(ปะหล่อง)
- เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน(ลั้วะ,ไทลื้อ,คนเมือง)
ลำต้นใช้ทำฟืนจุดไฟให้สตรีที่อยู่ไฟรมควัน เพราะเนื้อไม้ ไม่มีกลิ่นทำให้ควันไม่เหม็น(คนเมือง)
- ราก และ ใบ น้ำต้มกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ต้น ยางจากเปลือกต้นทาแก้คัน น้ำต้มเปลือกต้น กินแก้ธาตุพิการ เปลือก และ ใบ ตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้โรคผิวหนังบางชนิด [7] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|