ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ติ้วขาว, ติ้วขน
ติ้วขาว, ติ้วขน
Cratoxylum formosum (Jack) Dyer subsp.pruniflorum (Kurz) Gogel.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Hypericaceae (Clusiaceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Cratoxylum formosum (Jack) Dyer subsp.pruniflorum (Kurz) Gogel.
 
  ชื่อไทย ติ้วขาว, ติ้วขน
 
  ชื่อท้องถิ่น ลำติ้ว(ลั้วะ), ไม้คี่(ไทใหญ่), ไม้ติ้ว(ไทลื้อ), ไม้ติ้วแดง(คนเมือง), ดงสะเป่า(ม้ง), ตุ๊ดจรึ่ม(ขมุ), ไม้ขี้ติ้ว(คนเมือง), ไฮ่สะเยจ้หมาอ่อง(ปะหล่อง), เดี๋ยงติง(เมี่ยน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูง 10 – 35 ม. ผลัดใบ โคนต้นมีหนาม เปลือกสีเทา มีรอยแตกเป็นเกล็ด
ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี รูปขอบขนาน รูปหอก หรือรูปไข่ กว้าง 1 – 7 ซม. ยาว 3.5 – 14 ซม. ปลายใบแหลม มีติ่งสั้น ๆ หรือกลม โคนใบกลม หรือแหลมป้าน ๆ ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 5 – 15 มม.
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ง่ามกิ่ง หรือตามลำต้น มีดอกช่อละ 1 – 6 ดอก ก้านดอกยาว 3 – 10 มม. มีขน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ด้านนอกมีขนหนาแน่น กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาว ชมพูอ่อนถึงชมพูแก่ เกสรเพศผู้ติดเป็นกลุ่ม ๆ อับเรณูมีต่อมที่ปลาย ก้านเกสรเพศเมียมี 3 อัน
ผล รูปรีกว้าง 4 – 6 มม. ยาว 10 – 16 มม. กลีบเลี้ยงติดทนจนเป็นผล ภายในมี 3 ช่อง แก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง เมล็ดรูปใบหอกกลับ มีปีก ช่องหนึ่งมี 12 – 17 เมล็ด [7]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี รูปขอบขนาน รูปหอก หรือรูปไข่ กว้าง 1 – 7 ซม. ยาว 3.5 – 14 ซม. ปลายใบแหลม มีติ่งสั้น ๆ หรือกลม โคนใบกลม หรือแหลมป้าน ๆ ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 5 – 15 มม.
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ง่ามกิ่ง หรือตามลำต้น มีดอกช่อละ 1 – 6 ดอก ก้านดอกยาว 3 – 10 มม. มีขน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ด้านนอกมีขนหนาแน่น กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาว ชมพูอ่อนถึงชมพูแก่ เกสรเพศผู้ติดเป็นกลุ่ม ๆ อับเรณูมีต่อมที่ปลาย ก้านเกสรเพศเมียมี 3 อัน
 
  ผล ผล รูปรีกว้าง 4 – 6 มม. ยาว 10 – 16 มม. กลีบเลี้ยงติดทนจนเป็นผล ภายในมี 3 ช่อง แก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง เมล็ดรูปใบหอกกลับ มีปีก ช่องหนึ่งมี 12 – 17 เมล็ด
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เปลือกต้น เคี้ยวกินกับพลูหรือหมาก (ไทใหญ่)
ยอดอ่อน รับประทานกับลาบหรือน้ำพริก(ลั้วะ)
ยอดอ่อน รับประทานสดกับลาบ มีรสเปรี้ยวปนฝาด(ปะหล่อง)
ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก(คนเมือง)
- น้ำยาง ใช้เป็นยาสมานแผลเช่น แผลมีดบาด ช่วยห้ามเลือด ได้(คนเมือง)
ใบ ใช้ปิดแผลสด (ใช้แทนพลาสเตอร์ปิดแผล)(เมี่ยน)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ลั้วะ)
เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้าง เช่น ใช้สร้างรั้ว(ลั้วะ)
เนื้อไม้ ใช้ทำโครงสร้างบ้านมีความทนทานมาก ปลวกไม่กินเพราะเนื้อไม้มีน้ำยาง(ขมุ)
เนื้อไม้ ใช้สร้างขื่อบ้าน(ม้ง)
- เปลือกต้น ใช้ย้อมผ้า ให้สีน้ำตาลเข้ม(ปะหล่อง)
- เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน(ลั้วะ,ไทลื้อ,คนเมือง)
ลำต้นใช้ทำฟืนจุดไฟให้สตรีที่อยู่ไฟรมควัน เพราะเนื้อไม้ ไม่มีกลิ่นทำให้ควันไม่เหม็น(คนเมือง)
- ราก และ ใบ น้ำต้มกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ต้น ยางจากเปลือกต้นทาแก้คัน น้ำต้มเปลือกต้น กินแก้ธาตุพิการ เปลือก และ ใบ ตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้โรคผิวหนังบางชนิด [7]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง