|
วงศ์ |
Capparaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Crateva religiosa G.Forst. (Syn. Crateva magna ( Lour.) DC.) |
|
|
ชื่อไทย |
กุ่มน้ำ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ผักกุ่ม(ไทลื้อ,คนเมือง), ด่อด้า(ปะหล่อง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 ซม. มีความสูงประมาณ 4 – 20 เมตร
ใบ ใบออกเป็นช่อ ใบมีลักษณะเป็นรูปหอกหรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบ ผิวเนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบมีสีเทาอมน้ำตาล ใต้ท้องใบมีขนละอองเป็นสีเทา เส้นกลางและเส้นใบเห็นได้ชัด มีสีค่อนข้างแดง ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.5 – 2.5 นิ้ว ยาวประมาณ 2 – 9 นิ้ว ก้านใบมีรอยเป็นร่องไปตามยาว ตรงปลายก้านจะมีต่อมสีน้ำตาล มีขนาดประมาณ 1 มม. ขนาดของก้านยาวประมาณ 1.5 – 5.5 นิ้ว
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 4 – 6.5 นิ้ว ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอกเป็นรูปไข่ หรือรูปรี ปลายกลีบแหลมเรียว มีขนาดยาวประมาณ 2 – 3.5 มม. กว้างประมาณ 1.2 – 1.5 มม. สำหรับกลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลม รูปรีหรือรูปไข่ โคนกลีบกลมสอบแคบ ส่วนปลายกลีบจะมน กลีบดอกมีขนาดยาวประมาณ 1.5 – 3 ซม. กว้างประมาณ 1.5 – 2 ซม. ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้ ก้านเกสรมีสีม่วง มีทั้งหมดประมาณ 15 – 25 อัน
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปรี ผิวเปลือกหนามีสะเก็ดบาง ๆ ซึ่งจะเป็นสีเหลืองอมเทาขึ้นอยู่ทั่วไป ผลมีขนาดยาวประมาณ 5 – 8 ซม.
เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า มีขนาดหนาประมาณ 2 – 3 มม. ยาวประมาณ 6 – 9 มม.[1] |
|
|
ใบ |
ใบ ใบออกเป็นช่อ ใบมีลักษณะเป็นรูปหอกหรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบ ผิวเนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบมีสีเทาอมน้ำตาล ใต้ท้องใบมีขนละอองเป็นสีเทา เส้นกลางและเส้นใบเห็นได้ชัด มีสีค่อนข้างแดง ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.5 – 2.5 นิ้ว ยาวประมาณ 2 – 9 นิ้ว ก้านใบมีรอยเป็นร่องไปตามยาว ตรงปลายก้านจะมีต่อมสีน้ำตาล มีขนาดประมาณ 1 มม. ขนาดของก้านยาวประมาณ 1.5 – 5.5 นิ้ว
|
|
|
ดอก |
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 4 – 6.5 นิ้ว ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอกเป็นรูปไข่ หรือรูปรี ปลายกลีบแหลมเรียว มีขนาดยาวประมาณ 2 – 3.5 มม. กว้างประมาณ 1.2 – 1.5 มม. สำหรับกลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลม รูปรีหรือรูปไข่ โคนกลีบกลมสอบแคบ ส่วนปลายกลีบจะมน กลีบดอกมีขนาดยาวประมาณ 1.5 – 3 ซม. กว้างประมาณ 1.5 – 2 ซม. ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้ ก้านเกสรมีสีม่วง มีทั้งหมดประมาณ 15 – 25 อัน
|
|
|
ผล |
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปรี ผิวเปลือกหนามีสะเก็ดบาง ๆ ซึ่งจะเป็นสีเหลืองอมเทาขึ้นอยู่ทั่วไป ผลมีขนาดยาวประมาณ 5 – 8 ซม.
|
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดและใบอ่อน นำไปดองรับประทาน(ไทลื้อ,ปะหล่อง)
ยอดอ่อน นำไปดอง เก็บไว้รับประทานกับน้ำพริก มีรสเปรี้ยว(คนเมือง)
- ลำต้น ใช้ทำไหข้าว(คนเมือง)
- ใบ มีกลิ่นหอม รสชาติขม ใช้ต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ ยาเจริญอาหาร ยาบำรุง ยาระบาย ขับพยาธิ แก้ปวดเส้น โรคไขข้ออักเสบ เป็นอัมพาต ขับเหงื่อ ใช้ภายนอกเป็นยาถูนวดให้เลือดมาเลี้ยงให้ทั่ว
เปลือก ใช้เป็นยาระงับพิษทางผิวหนัง เป็นยาบำรุง แก้ไข้ ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ขับน้ำดี ขับน้ำเหลืองเสีย และเป็นยาแก้อาเจียน เป็นต้น[1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบตามริมฝั่งแม่น้ำ ขอบบึง มีแสงแดดส่องถึงตลอดวัน |
|
|
เอกสารประกอบ |
|