|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
ผักกาดช้าง, หญ้าคออ่อน
|
ผักกาดช้าง, หญ้าคออ่อน
Crassocephalum crepidioides (Benth.) S.Moore |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Asteraceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Crassocephalum crepidioides (Benth.) S.Moore |
|
|
ชื่อไทย |
ผักกาดช้าง, หญ้าคออ่อน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ด่อหยั่ง, ด่อกุล่า(ปะหล่อง), ไบแบ้ง(ลั้วะ), เพี๊ยะคอด มะนอด(ลั้วะ), ผักกาดนา, ผักหมอกง๊อก(ไทใหญ่), ผักหลั่ง(ลั้วะ), หญ้าหนาดหมักแตบ(ไทลื้อ), หมะแต๊บ(ขมุ), หน่อบออึ๊(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) อี่ถู่เหมาะ(กะเหรี่ยงแดง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
หญ้าคออ่อนเป็นพืชล้มลุก มีริ้วหรือจุดสีม่วงเข้มตามลำต้น ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรี โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย ดอกเป็นช่อกระจุกแน่นออกตามปลายยอดหรือกิ่ง เมล็ดแก่มีขนสีขาวช่วยกระจายพันธุ์ |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบและยอดอ่อน รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือนำไปประกอบอาหาร เช่น ยำใส่น้ำพริก แกง(ปะหล่อง)
ยอดอ่อน ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ลั้วะ,ขมุ)
ผลสุก รับประทานได้(ลั้วะ)
ยอดอ่อน กินดิบหรือลวกกินกับน้ำพริก ใส่แกงแค(ไทใหญ่)
ยอดอ่อน นึ่งเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือรับประทานสดกับลาบ(ไทลื้อ)
ยอดอ่อน นำไปแกงหรือกินสดกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงแดง)
ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่น ผัด และใส่ข้าวเบอะ ทั้งต้น ใช้เป็นอาหารเลี้ยงหมู(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ทั้งต้น เป็นอาหารเลี้ยงหมู(ลั้วะ)
ยอดอ่อน ใช้เป็นอาหารเลี้ยงหมู(ลั้วะ) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า |
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ชุ่มชื้น ที่โล่งริมถนน และแปลงเกษตร |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|