|
วงศ์ |
Costaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cheilocostus speciosus (J.König) C.Specht (Syn. Costus speciosus (Koen.) Sm.) |
|
|
ชื่อไทย |
เอื้องหมายนา |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ซูเลโบ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ซูแลโบ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เอื้องหมายนา(คนเมือง,ไทใหญ่,ไทลื้อ), กู่เก้ง(ม้ง), ลำพร้อก,ลำพิย้อก(ลั้วะ), ดื่อเหม้(ยึ)(ปะหล่อง) ชิ่งก๋วน(เมี่ยน) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เอื้องหมายนาเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ชอบขึ้นตามที่ชุ่มชื้น สูง 1.5-3 เมตร |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 5-8 ซม. ยาว 15-40 ซม. |
|
|
ดอก |
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว ตรงกลางดอกมีแต้มสีเหลืองหรือชมพู |
|
|
ผล |
ผลแห้ง แตกได้ รูปขอบขนานแกมสามเหลี่ยม เมื่อสุกสีแดง |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- หน่ออ่อน ลวกกินจิ้มน้ำพริก(ไทใหญ่)
หน่ออ่อน ประกอบอาหารโดยหั่นแล้วผัดใส่เนื้อหรือใส่ แกงเนื้อ(เมี่ยน)
ลำต้น รับประทานสดแก้นิ่ว โดยตัดให้มีความยาวหนึ่งวาของคนที่เป็นนิ่ว เอาไปย่างไฟแล้วคั้นน้ำให้ดื่ม(ปะหล่อง)
- ลำต้น ต้มน้ำดื่มช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการกระเพาะ ปัสสาวะอักเสบ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
น้ำที่คั้นจากลำต้น หยอดลงในหู รักษาอาการหูน้ำหนวก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ลำต้น นำไปอังไฟแล้วบีบน้ำดื่มแก้โรคนิ่ว(ปะหล่อง)
ใบ ใช้เป็นส่วนประกอบในยารักษาโรคนิ่ว ร่วมกับใบของมะละกอตัวผู้ และพืชอีกหลายชนิด(ลั้วะ)
ลำต้นส่วนยอด นำมาทุบแล้วหมกไฟนำมาอุดรูหูรักษาอาการหูอื้อ(ลั้วะ)
หัวใต้ดิน ต้มน้ำดื่มรักษาโรคความดันโลหิตต่ำ อาการหน้าซีด(ม้ง)
ราก ดองเหล้าดื่มบำรุงกำลังหรือนำใบไปรมไฟ บีบเอาน้ำหยอดหูรักษาโรคหูเป็นหนอง(ไทใหญ่)
- ลำต้น นำไปต้มกินเชื่อว่าเป็นยาต้านโรคมะเร็ง(คนเมือง)
ใบ ใช้ประกอบพิธีสู่ขวัญควาย(ลั้วะ)
ทั้งต้น ใช้ในพิธีกรรมก่อนการทำนาของชาวไทลื้อ(พิธีแฮกข้าว)โดยนำไปมัดติดกับตะแหลวร่วมกับดอกปิ้งแดงแล้วนำไปใส่ไม้ปักไว้ที่ไร่นาก่อนปลูกข้าวเป็นการบอกกล่าวเจ้าที่ว่าต่อไปจะมาทำการปลูกข้าวที่ที่นาผืนนั้นๆช่วยให้ข้าวเจริญงอกงาม (ปัจจุบันไม่ค่อยทำกันแล้ว)(ไทลื้อ) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
พบทั่วไป ชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ใต้ต้นไม้ใหญ่ บริเวณเชิงเขา ริมน้ำตก และริมทางน้ำ |
|
|
เอกสารประกอบ |
|