|
วงศ์ |
Asparagaceae (Agavaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Dracaena angustifolia (Medik.) Roxb. (Syn. Cordyline fruticosa (L.) Goeppert.) |
|
|
ชื่อไทย |
หมากผู้หมากเมีย |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
หมากผู้หมากเมีย(ไทลื้อ,ไทใหญ่), เตเญ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), หมากปู๊ |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
หมากผู้หมากเมียเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กลักษณะเป็นพุ่ม ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็กกลม ลำต้นมีข้อถี่ ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน |
|
|
ใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงส่วนยอดของลำต้น แตกใบตามข้อต้นใบเป็นรูปหอกปลายใบแหลมขอบใบเรียบและมีกาบใบหุ้มลำต้นใบออกเรียงเป็นชั้นสลับกันขนาดใบและสีสรรจะแตกต่างตามชนิดพันธุ์ |
|
|
ดอก |
ดอกเป็นช่อออกตรงส่วนยอดของลำต้น ปลายช่อดอกมีกลุ่มดอกเล็ก ๆ สีขาว ช่อหนึ่งจะมีช่อดอกย่อยประมาณ 5-10 ดอก |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ช่อดอก ลวกกินกับน้ำพริก หรือนำไปแกง(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) - ใบ สับตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณ(ไทลื้อ) - ดอก ใช้บูชาพระ(ไทใหญ่) ใบ ใช้บูชาพระ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นใกล้แหล่งน้ำ ที่มีความชุ่มชื้น หรือใต้ต้นไม้ใหญ่ที่มีแสงแดดรำไร |
|
|
เอกสารประกอบ |
|