|
วงศ์ |
Commelinaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Commelina benghalensis L. |
|
|
ชื่อไทย |
ผักปลาบ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ผักงอง(ขมุ), สะพาน(เมี่ยน), ผักกาบปลี(คนเมือง), ผักขาบ(ไทลื้อ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นพืชอายุปีเดียว ลำต้นอวบน้ำทอดเลื้อยไปตามพื้นดินปลายยอดชูตั้งขึ้น สูง 65-85
เซนติเมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.1 – 3.5 มิลลิเมตร
|
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่ (ovate) หรือรูปรี(elliptic) กว้าง 1.0- 3.5 เซนติเมตร ยาว 1.7 – 8.0 เซนติเมตร โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้นยาว 0.8 – 1.6 เซนติเมตร ขอบใบมีขนครุย (ciliate) มีใบประดับสีเขียวหุ้มช่อดอก ตามลำต้น แผ่นใบทั้งสองด้านและ หลังใบประดับ (bract) จะมีขนละเอียดสั้นๆ ปกคลุมหนาแน่น |
|
|
ดอก |
ดอกแบบช่อกระจุก (cymose) ออกดอกตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีเขียวอ่อนใส
กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน อับเกสรเพศผู้มี 6 อัน ซึ่ง 4 อัน เป็นหมันจะมีสีเหลืองสด อีก 2 อัน
ไม่เป็นหมันจะมีสีม่วงเข้ม ยอดและก้านเกสรเพศเมียและก้านชูอับเรณูสีม่วงอ่อน พบออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
|
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน นึ่งกินกับน้ำพริก(ขมุ,ไทลื้อ)
ยอดอ่อน ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก(เมี่ยน)
ยอดอ่อนและใบ นึ่งกินกับน้ำพริกหรือใช้ใส่แกงส้ม(คนเมือง)
- ใบ ใช้ต้มน้ำอาบสำหรับรักษาคนที่ป่วยกระเสาะกระแสะ เป็นๆ หายๆ ช่วยให้หายป่วย(เมี่ยน)
- ยอดและใบ สับหยาบๆ ผสมรำใช้เป็นอาหารหมู(คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
พบตามที่ชุ่มชื้นตามคลองหนองน้ำหรือในนา |
|
|
เอกสารประกอบ |
|