|
วงศ์ |
Moraceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Ficus lacor Buch.-Ham. (Syn.Ficus infectoria Roxb.) |
|
|
ชื่อไทย |
เลียบ, ผักเฮือด |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ผักเฮียก(คนเมือง), ผักฮี้ (ไทใหญ่), ฉริผักเฮือด(ขมุ), ผักเฮือด(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ผักเฮียกเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ขนาดเดียวกับไทรและมะเดื่อ สูง 8-15 เมตร เปลือกต้นบางและเรียบ ผลัดใบพร้อมกันทั้งต้น |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่และรูปรี กว้าง 6-7 ซม. ยาว 7-18 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบหนาและมัน ยอดอ่อนม้วนเป็นแท่ง รูปทรงกระบอก ปลายเรียวแหลม ใบอ่อนสีแดง มีขนละเอียดคล้ายไหม |
|
|
ดอก |
ดอกช่อเล็กๆ ออกตามลำต้นและกิ่ง |
|
|
ผล |
ผลกลม สีเขียวอ่อนออกขาว ผลสุกสีเหลือง |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดและใบอ่อน ประกอบอาหารเช่น แกง ยำ(คนเมือง,ปะหล่อง)
ยอดอ่อน นำไปแกงหรือนำไปนึ่งก่อนจึงเอาไปยำ (ไทใหญ่)
ใบ นำมาต้มแล้วใช้ห่อเกลือกินแบบเมี่ยง(ขมุ)
- เนื้อไม้ ใช้ทำด้ามจอบ เสียม (ไทใหญ่
- ยอดอ่อน เก็บขายได้ราคากิโลกรัมละ 40-50 บาท(คนเมือง)
ยาง ใช้ดักนก (ไทใหญ่) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นในป่าผสมผลัดใบ ป่าโปร่ง และตามเชิงเขาในสภาพพื้นที่ ค่อนข้างแห้งแล้ง |
|
|
เอกสารประกอบ |
|