|
วงศ์ |
Araceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Colocasia gigantea Hook.f. |
|
|
ชื่อไทย |
คูน, ตูน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ด่อเปื่อนส้า(ปะหล่อง), ตะบุ้ผะ(กะเหรี่ยงแดง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ตูนเป็นไม้ล้มลุกหลายปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นสีขาว ก้านใบแทงออกจากเหง้า ก้านใบอวบน้ำ ขนาดใหญ่และยาว สีเขียว มีไขเคลือบสีขาวนวล เนื้อของก้านใบฉ่ำน้ำ และมีรูอากาศแทรกอยู่ |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปหัวใจ กว้าง 40-43 ซม. ยาว 28-48 ซม. ปลายใบมนและแหลม โคนใบปิด ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบมัน สีเขียวอ่อน |
|
|
ดอก |
ช่อดอก ออกเป็นแท่งเดี่ยว ดอกย่อยแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน สีขาวนวล มีกาบยาวรีสีขาวนวลหุ้มช่อดอก โคนป่องมีช่องเปิดมองเห็นช่อดอกเป็นกระเปาะตรงกลาง คล้ายดอกหน้าวัว |
|
|
ผล |
ผลสด สีเขียว |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ มักใช้เป็นส่วนประกอบในแกง เช่น แกงแกนกลางของลำต้นเต่าร้าง(ปะหล่อง)
ก้านใบ ตำรวมกับมะแฟน หรือลวกกินกับน้ำพริก หรือนำไปตากแดด 1 วัน แล้วนำไปดอง(กะเหรี่ยงแดง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า |
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง แดดไม่จัดมาก |
|
|
เอกสารประกอบ |
|