|
วงศ์ |
Acanthaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze |
|
|
ชื่อไทย |
คราม |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ลอม(ลั้วะ), หย่าม(เมี่ยน), ฮ่อม(คนเมือง,ไทลื้อ), กั้ง(ม้ง), ซึนย่า(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ฮ่อมเป็นไม้ล้มลุก มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นสูง 0.5-1 เมตร ลำต้นและเหง้ากลมเป็นรูปทรงกระบอก บริเวณข้อโป่งพอง แตกกิ่งตามข้อ |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ ตั้งฉากกัน รูปวงรี ปลายใบเรียวแหลม โคนแหลม ขอบหยักฟันเลื่อยละเอียด เนื้อใบสีเขียวเข้มมัน |
|
|
ดอก |
ช่อดอกออกที่ซอกใบ ดอกรูปทรงคล้ายระฆัง กลีบดอกสีม่วงเชื่อมกันเป็นหลอดโค้งงอเล็กน้อย |
|
|
ผล |
ผลแห้งแตกได้ เมล็ดแบน สีน้ำตาล |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ลำต้น นำมาทุบแล้วนำไปพอกกระหม่อมหรือห่อมือห่อเท้าเด็ก แก้ไข้ หรือทุบแล้วนำไปห่อมือหรือเท้าของคนที่เป็นอีสุกอีใส เชื่อว่าช่วยดูดพิษ(เมี่ยน)
ใบ ขยี้แล้วใช้ประคบศีรษะเด็กอ่อนเวลาที่ร้องไห้(คนเมือง)
- ใบ นำมาตำแล้วแช่น้ำหมักไว้ ใช้ย้อมผ้า ให้สีดำ(ลั้วะ,ไทลื้อ)
ใบและลำต้น สับเป็นชิ้นเล็กๆนำไปหมักทิ้งไว้ จากนั้นนำ น้ำหมักมาต้มรวมกับฝ้าย ใช้ย้อมผ้าให้สีน้ำเงิน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,คนเมือง,ม้ง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
เจริญเติบโตได้ดีในป่าชื้น พบมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชอบขึ้นบริเวณชื้นใกล้ลำธาร หรือแหล่งน้ำที่มีอากาศเย็น ต้องการร่มเงามาก ไม่ชอบแสงแดดจัด |
|
|
เอกสารประกอบ |
|