|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
Taro, Cocoyam
|
Taro, Cocoyam
Colocasia esculenta (L.) Schott |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Araceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Colocasia esculenta (L.) Schott |
|
|
ชื่อไทย |
เผือก |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ขือท่อซู่(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), บอน(เมี่ยน), คึ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นพืชล้มลุกหลายฤดู มีหัวใต้ดิน ไหลเลื้อยไปเป็นต้นใหม่ ใบและลำต้นสีเขียวสดหรือสีเขียวอมน้ำตาล ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ ก้านใบอวบน้ำ ขนาดใหญ่ยาว สีเขียวแกมม่วงโผล่ขึ้นเหนือน้ำ มีน้ำยางเหนียวสีขุ่น หากสัมผัสโดนผิวหนังจะคัน ดอกเป็นช่อ สีขาวนวล มีกาบยาวรีสีเหลืองนวลหุ้มช่อดอก โคนป่องมีช่องเปิดมองเห็นช่อดอกเป็นกระเปาะตรงกลาง มีกลิ่นหอม ส่วนปลายช่อดอกเป็นดอกตัวผู้ ส่วนโคนเป็นดอกตัวเมีย ก้านช่อดอกสั้นกว่าก้านใบ |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- หัวใต้ดิน นำไปต้มรับประทาน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ใบอ่อนและก้านใบอ่อน ประกอบอาหาร เช่นใช้ทำแกง บอน(เมี่ยน)
- น้ำยาง ใช้ถอนพิษแมลงกัดต่อย(เมี่ยน)
- ใบ ต้มให้หมูกิน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[2] สมพร ภูติยานันต์, 2546. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|