|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
- Job's tear - Joy’s tears [1]
|
- Job's tear - Joy’s tears [1]
Coix lachryma - jobi L. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Poaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Coix lachryma - jobi L. |
|
|
ชื่อไทย |
เดือย |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- เบ่อะมือที(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เบ่อนาที,เบ่อโป่โหละ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เดือยเล็ก(ไทใหญ่), มะเดือยหิน(ไทลื้อ), ตุ๊ดอึเทะ(ขมุ), แผละจง(ลั้วะ) - เดือยหิน, มะเดือย (พายัพ), ลูกเดือย (ใต้), เป้นี (กะเหรียง-กำแพง), สกูย (เขมร) [1] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ซึ่งอยู่ในวงศ์ข้าวและหญ้า เป็นพืชที่มีลำต้นแตกกิ่งเล็กน้อย และมีอายุเพียงปีเดียว
ใบ เนื่องจากเป็นพืชในวงศ์ข้าวและหญ้า ฉะนั้นใบจึงมีส่วนยาวมากกว่าส่วนกว้าง ปลายใบแหลม ขอบใบขนานแต่เมื่อลูบจะรู้สึกสากๆ หูใบสั้น มีสีเขียว
ดอก ดอกเดี่ยว เป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์เพศ คือดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่ต่างดอกกัน แต่ก็อยู่ในต้นเดียวกัน
ผล เมื่อดอกร่วงโรยก็จะติดผล ซึ่งเป็นรูปกลมๆ โตราวๆ 6 มม. เปลือกภายนอกแข็ง [1] |
|
|
ใบ |
ใบ เนื่องจากเป็นพืชในวงศ์ข้าวและหญ้า ฉะนั้นใบจึงมีส่วนยาวมากกว่าส่วนกว้าง ปลายใบแหลม ขอบใบขนานแต่เมื่อลูบจะรู้สึกสากๆ หูใบสั้น มีสีเขียว
|
|
|
ดอก |
ดอก ดอกเดี่ยว เป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์เพศ คือดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่ต่างดอกกัน แต่ก็อยู่ในต้นเดียวกัน
|
|
|
ผล |
ผล เมื่อดอกร่วงโรยก็จะติดผล ซึ่งเป็นรูปกลมๆ โตราวๆ 6 มม. เปลือกภายนอกแข็ง |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ราก ต้มรวมกับพืชชนิดอื่น เช่น หญ้าถอดปล้อง รักษาโรคนิ่ว(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ราก ต้มน้ำดื่ม แก้อาการโรคกระเพาะอาหารหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ราก ต้มน้ำดื่ม แก้อาการปัสสาวะขัด(ไทใหญ่)
ราก นำมาต้มน้ำดื่มรักษาโรคนิ่ว(ไทลื้อ,ลั้วะ)
ราก ต้มกินเป็นยารักษาโรคนิ่วร่วมกับแก่นต้นคูน หญ้าถอดปล้อง ใบสับปะรด และแก่นฝาง(ขมุ)
- ผลแห้ง ใช้ร้อยประดับลงบนเสื้อผ้าของชาวกะเหรี่ยง(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- ราก นำมามัดทำเป็นยาชงทาน เพราะมีสารพวก coixol ซึ่งใช้ขับพยาธิในเด็ก
เมล็ด นำมาทำเป็นยาบำบัดหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ มีน้ำขังในปอด และถ้านำมาหมักจะได้แอลกอฮอล์ซึ่งใช้ในโรคไขข้ออักเสบ แต่ถ้าคนที่ฟื้นไข้ใหม่ๆ ก็นำเมล็ดมาชงซึ่งเป็นอาหารที่มีคุณค่ามาก เป็นยาเย็น และขับปัสสาวะ [1]
- สรรพคุณความเชื่อ
เมล็ดเดือยรสมันเย็นจืด ขับปัสสาวะ บำรุงม้าม ตับ ปอด แก้ท้องเสีย บวมน้ำ แก้ปวดเข่า ปวดข้อ ไขข้ออักเสบ บำรุงกำลัง ป้องกันการเกิดฝีในลำไส้ หูด ยับยั้งการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งมดลูก แก้ชักกระตุก แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงเส้นผมและผิวหนังให้ผิวพรรณสวยงาม แก้ไข้แก้ไอ ไอเป็นเลือด แก้หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ปอดอ่อนแอ แก้น้ำคั่งในปอด เป็นอาหาร บำรุงกำลังคนฟื้นไข้ แก้เหน็บชา ตกขาว เมล็ดหมักให้แอลกอฮอล์รักษาโรคข้ออักเสบ
ราก รสขื่น ชงน้ำดื่มขับพยาธิในเด็ก บำรุงม้าม ฆ่าพยาธิ แก้ดีซ่าน บวมน้ำ แก้ประจำเดือนผิดปกติ ตกขาวผิดปกติ แก้ปวดท้อง
ตำราจีนเชื่อว่า เมล็ดเดือยรสเย็นบดผสมข้าวต้มบำรุงกำลัง หล่อลื่นกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้บวมช้ำ ปวดข้อเรื้อรัง แก้ไข แก้ท้องเสีย เหน็บชา ชักกระตุก ฝีหลายหัวในลำไส้ ตกขาวมากกว่าปกติ แก้ร้อนใน [3] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|