|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
โกสน
|
โกสน
Codiaeum variegatum Blume |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Euphorbiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Codiaeum variegatum Blume |
|
|
ชื่อไทย |
โกสน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- โกสน(ไทลื้อ,ขมุ), กุสน(คนเมือง), สันคำ(คนเมือง) - กรีกะสม, กรีสาเก, โกรต๋น (ทั่วไป) [6] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้พุ่ม, สูง 1 – 3 ม. ทุกส่วนเกลี้ยง.
ใบ มีรูปร่างหลายแบบ, ตั้งแต่รูปขอบขนานจนถึงรูปยาวแคบ; โคนใบมนหรือแหลม; ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น; ปลายใบทู่; สีเขียวหรือลาย; มีเส้นแขนงใบประมาณ 10 คู่; ด้านใบยาว 3 – 5 ซม.
ดอก เล็ก, ออกเป็นช่อยาวที่ยอดและตามง่ามใบ, ช่อยาว 10 – 20 ซม., มีดอกจำนวนมาก, ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ, ยาวประมาณ 1.5 มม. กลม; กลีบดอก 5 กลีบ, กว้างมากกว่ายาว; ที่ฐานมีต่อม 5 ต่อม; เกสรผู้ 30 อัน. ดอกเพศเมีย มีกลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ, รูปไข่แกมสามเหลี่ยม, มีขนาดไม่เท่ากัน, ยาว 1 – 2 มม., โคนเชื่อมติดกัน; ไม่มีกลีบดอก; ที่ฐานมีเนื้อเป็นรูปวงแหวนล้อมรอบรังไข่; รังไข่รูปไข่, ปลายแหลม, เกลี้ยง, ท่อรังไข่แยกเป็น 3 อัน, ม้วนออก, ภายในมี 3 ช่อง.
ผล เป็นชนิดแก่แล้วแห้ง, เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 9 มม., ยาว 7 มม., สีขาว เมล็ด ยาวประมาณ 6 มม. [6] |
|
|
ใบ |
ใบ มีรูปร่างหลายแบบ, ตั้งแต่รูปขอบขนานจนถึงรูปยาวแคบ; โคนใบมนหรือแหลม; ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น; ปลายใบทู่; สีเขียวหรือลาย; มีเส้นแขนงใบประมาณ 10 คู่; ด้านใบยาว 3 – 5 ซม.
|
|
|
ดอก |
ดอก เล็ก, ออกเป็นช่อยาวที่ยอดและตามง่ามใบ, ช่อยาว 10 – 20 ซม., มีดอกจำนวนมาก, ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ, ยาวประมาณ 1.5 มม. กลม; กลีบดอก 5 กลีบ, กว้างมากกว่ายาว; ที่ฐานมีต่อม 5 ต่อม; เกสรผู้ 30 อัน. ดอกเพศเมีย มีกลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ, รูปไข่แกมสามเหลี่ยม, มีขนาดไม่เท่ากัน, ยาว 1 – 2 มม., โคนเชื่อมติดกัน; ไม่มีกลีบดอก; ที่ฐานมีเนื้อเป็นรูปวงแหวนล้อมรอบรังไข่; รังไข่รูปไข่, ปลายแหลม, เกลี้ยง, ท่อรังไข่แยกเป็น 3 อัน, ม้วนออก, ภายในมี 3 ช่อง.
|
|
|
ผล |
ผล เป็นชนิดแก่แล้วแห้ง, เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 9 มม., ยาว 7 มม., สีขาว เมล็ด ยาวประมาณ 6 มม. |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน ลวกกินเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือใส่แกง(ไทลื้อ)
ใบ นำไปเป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่น ใส่แกงโฮะ(คนเมือง)
ยอดอ่อน รับประทานได้โดยการต้มจิ้มน้ำพริกหรือกินสดกับ ส้มตำหรือใช้เป็นส่วนประกอบในการทำแกงโฮะ(คนเมือง)
ยอดอ่อน รับประทานสดกับลาบหรือน้ำพริก(ขมุ)
- ใบ ตำพอกท้องเด็ก, แก้โรคระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ [6] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
กระจายพันธุ์อยู่ในประเทศเขตร้อนทั่วไป พบปลูกเป็นไม้ประดับบ้านเรือน ปลูกเลี้ยงง่าย ชอบดินโปร่งร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่มีน้ำขังแฉะ มีอินทรียวัตถุปานกลาง |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|