ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Coconut [3]
- Coconut [3]
Cocos nucifera L. var. nucifera
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Arecaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Cocos nucifera L. var. nucifera
 
  ชื่อไทย มะพร้าว
 
  ชื่อท้องถิ่น - มะพร้าว(ม้ง), บ่ะซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) - ดุง โพล คอส่า หมากอุ๋น หมากอูน [3]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้น ลำต้นตรง สูงประมาณ 3-30 เมตร รอบลำต้นมีรอยกาบใบ (sheath petiole) ชัดเจนตลอดความสูงของลำต้น
ใบ ติดกับลำต้นแบบเวียนสลับ (spiral vernation) ใบเป็นใบประกอบขนาดใหญ่และยาว ประกอบด้วยใบย่อยจำนวนมาก ใบย่อยยาวแคบ หนา เหนียว สีเขียว
ดอก เป็นช่อเรียกว่า จั่น สีเขียวอมเหลือง ประกอบด้วย ดอกตัวเมีย บริเวณโคนก้านช่อดอกและขนาดใหญ่กว่าดอกตัวผู้ซึ่งอยู่บริเวณปลายก้านช่อดอก
ผล ขนาดใหญ่กลม เปลือกหนา มีเมล็ดขนาดใหญ่ 1 เมล็ด หุ้มด้วยเปลือกแข็งเรียกว่า กะลา (endocarp : เปลือกผลชั้นใน) ภายในกะลามีเปลือกเมล็ดสีดำ น้ำตาล มีเนื้อแข็งสีขาวและน้ำมะพร้าว ผลเป็นช่อรวมเรียกว่าทะลาย [3]
 
  ใบ ใบ ติดกับลำต้นแบบเวียนสลับ (spiral vernation) ใบเป็นใบประกอบขนาดใหญ่และยาว ประกอบด้วยใบย่อยจำนวนมาก ใบย่อยยาวแคบ หนา เหนียว สีเขียว
 
  ดอก ดอก เป็นช่อเรียกว่า จั่น สีเขียวอมเหลือง ประกอบด้วย ดอกตัวเมีย บริเวณโคนก้านช่อดอกและขนาดใหญ่กว่าดอกตัวผู้ซึ่งอยู่บริเวณปลายก้านช่อดอก
 
  ผล ผล ขนาดใหญ่กลม เปลือกหนา มีเมล็ดขนาดใหญ่ 1 เมล็ด หุ้มด้วยเปลือกแข็งเรียกว่า กะลา (endocarp : เปลือกผลชั้นใน) ภายในกะลามีเปลือกเมล็ดสีดำ น้ำตาล มีเนื้อแข็งสีขาวและน้ำมะพร้าว ผลเป็นช่อรวมเรียกว่าทะลาย
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลแก่ คั้นน้ำกะทิใช้ประกอบอาหาร, ผลอ่อน รับประทาน เนื้อผลและน้ำมะพร้าว(ม้ง)
- ก้านใบ ฉีกใบออกเหลือแต่ก้านใบ ตากให้แห้ง แล้วมัด รวมกัน ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- สรรพคุณความเชื่อ
ราก รสฝาด ต้มน้ำดื่ม ขับปัสสาวะ แก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ท้องเสีย อมบ้วนปากแก้เจ็บคอ แก้บิด ตกขาว ตกเลือด โรคตับ หลอดลมอักเสบ หนองใน
เปลือกต้น รสฝาด ใช้แปรงฟันแก้ปวดฟัน (โดยเผาเป็นเถ้า)
เปลือกผล รสฝาดขมสุขุม ห้ามเลือด แก้เลือดกำเดา แก้อาเจียน โรคกระเพาะ
เนื้อมะพร้าว รสมันชุ่ม บำรุงร่างกาย ขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ
น้ำมันมะพร้าว รสหวาน แก้กระหาย จิตใจสบาย ท้องเสีย บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้พิษ อาเจียน
กะลา รสฝาดขม แก้ปวดเอ็น ปวดกระดูก
ใช้น้ำมันมะพร้าวปรุงเป็นยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกมานาน โดยน้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ใส่ในภาชนะคนพร้อมๆ กับเติมน้ำปูนใส 1 ส่วน โดยเติมทีละน้อยพร้อมกับคนไปด้วย จนเข้ากันดี แล้วใช้ทาที่แผลบ่อยๆ ช่วยทาสมานแผลจนกว่าแผลจะหาย และทาผมรักษาเส้นผม [3]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง