|
วงศ์ |
Connaraceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cnestis palala (Lour.) Merr. |
|
|
ชื่อไทย |
หงอนไก่, หมาตายไม่ต้องลาก |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
เก๊าหงอนไก่(คนเมือง), พลู้นมันปึ้ง(ขมุ), ก๊อดไลวึ่ (ม้ง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
หงอนไก่ป่าเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยพันต้นไม้ใหญ่ เปลือกต้นสีเทาปนเขียว กิ่ง ใบ และก้านใบมีขนนุ่ม สีน้ำตาลปกคลุม |
|
|
ใบ |
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ รูปขอบขนาน ปลายและโคนใบมน ขอบเรียบ ผิวใบเรียบและมัน ยอดอ่อนสีแดง ใบประกอบออกเรียงสลับถี่ มีลักษณะเป็นกระจุกเป็นระยะ ตามเถา |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ราก ต้มน้ำดื่มรักษาอาการปวดท้องร่วมกับข้าวเม่านก ขี้อ้น มะแฟนข้าว และดูลอย(คนเมือง)
ลำต้นหรือใบ นำไปต้มน้ำอาบรักษาผื่นคัน (ใช้ได้สำหรับผู้ใหญ่ เท่านั้น) หรือนำน้ำต้มที่ได้ดื่มรักษาโรคนิ่ว(ม้ง)
- ราก มีพิษ สุนัขกินแล้วตาย(ขมุ,คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
พบขึ้นในป่าของชุมชน ชอบร่มรำไร ดินร่วน อุดมสมบูรณ์ |
|
|
เอกสารประกอบ |
|