ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ชะรักป่า, อัคคีทวาร
ชะรักป่า, อัคคีทวาร
Clerodendrum serratum (L.) Moon var. wallichii C.B.Clarke
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Lamiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Clerodendrum serratum (L.) Moon var. wallichii C.B.Clarke
 
  ชื่อไทย ชะรักป่า, อัคคีทวาร
 
  ชื่อท้องถิ่น ควีโดเยาะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ผักห้าส้วย(ไทใหญ่), ลำกร้อล(ลั้วะ), ผักห้าส้วย(ไทใหญ่)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูง 1-4 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม
 
  ใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน บางข้อมี 3-4 ใบ เรียงรอบข้อ รูปรียาว โคนใบสอบ ปลายใบเป็นติ่งสั้น ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยช่วงกลางขอบใบไปจนถึงปลายใบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกสีม่วงอ่อนอมฟ้า กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนาดไม่เท่ากัน
 
  ผล ผล รูปค่อนข้างกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว แก่เป็นสีดำ เมล็ดเดี่ยว รูปกลมรี สีดำ
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อนและดอก รับประทานสดกับน้ำพริก(ลั้วะ)
ยอดอ่อนและดอกสด หรือลวกแล้วนำไปยำ(ไทใหญ่)
ดอกและใบอ่อน นำไปประกอบการหาร เช่น แกง ยำ หรือผัด(ลั้วะ)
- ใบ อังไฟแล้วขยี้ใส่แผลฝีหนอง ที่เป็นเรื้อรัง หรือรอยแผล จากแมลงกัดและปากนกกระจอก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ทั้งต้น ต้มให้หญิงที่เพิ่งคลอดลูกดื่ม, ทั้งต้น ต้มอาบแก้ปวดเมื่อย(ไทใหญ่)
ใบ นำมาลนไฟแล้วนำมาประคบบริเวณหน้าอกแก้อาการเจ็บหน้าอก(ลั้วะ)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ลักษณะ http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_17_4.htm
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง