|
วงศ์ |
Lamiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Clerodendrum glandulosum Lindl. (Syn. Clerodendrum colebrookianum Walp.) |
|
|
ชื่อไทย |
ปิ้งขาว |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
บ่างยาม(ลั้วะ), คอคอเด๊าะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เคาะคอเดาะ, เนาะคอโด๊ะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ปิ้งขาว(คนเมือง), บานเดีกยม(ลั้วะ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ปิ้งขาวเป็นเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม สูง 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรงมีขนเล็กน้อย |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปหัวใจ ออกเรียงสลับตามข้อเป็นคู่ๆ ตั้งฉากกัน กว้าง 7-38 ซม. ยาว 4-40 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้า ขอบจัก ผิวใบหนาและสาก สีเขียวเข้ม เส้นใบสีเขียวอ่อน |
|
|
ดอก |
ดอกช่อกระจุกขนาดใหญ่ ออกที่ปลายยอด ดอกย่อยบานไม่พร้อมกัน รูปร่างคล้ายดอกมะลิ สีขาว กลับดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ยาว 5 อัน |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อนและใบอ่อน นึ่งเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ลั้วะ,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ยอดอ่อนและดอกอ่อน นำไปลวกรับประทานจิ้มน้ำพริก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ช่อดอกอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก(คนเมือง)
- ใบ เอาไปอังไฟ แล้วนั่งทับบริเวณที่เป็นริดสีดวง(คนเมือง)
ราก ต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดท้องปัสสาวะไม่ออก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- ผลสุก ต้มรวมกับฝ้าย ใช้ย้อมผ้า ให้สีเขียวขี้ม้า(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|