|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
ปิ้งตาไก่, ปิ้งแดง
|
ปิ้งตาไก่, ปิ้งแดง
Clerodendrum japonicum (Thunb.) Sweet (Syn. Clerodendrum kaempferi (Jacq.) Siebold ex Steud.) |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Lamiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Clerodendrum japonicum (Thunb.) Sweet (Syn. Clerodendrum kaempferi (Jacq.) Siebold ex Steud.) |
|
|
ชื่อไทย |
ปิ้งตาไก่, ปิ้งแดง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ผักปิ้งแดง(ไทใหญ่), พอกวอ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ปิ้งแดงเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม สูง 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรงมีขนเล็กน้อย กิ่งและต้นเปราะ เป็นสันสี่เหลี่ยม สีดำอมน้ำตาล |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปหัวใจ ออกเรียงสลับตามข้อเป็นคู่ๆ ตั้งฉากกัน กว้าง 7-35 ซม. ยาว 4-38 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้า ขอบจัก ผิวใบหนาและสาก สีเขียวเข้ม เส้นใบสีเขียวเข้ม |
|
|
ดอก |
ดอกช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ก้านช่อดอกย่อยสีแดง กลีบดอกสีแดง 5 กลีบ กลีบเลี้ยงสีแดง เกสรเพศผู้สีชมพูปนขาวขนาดยาว 5 อัน |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน ใช้ลวกรับประทานได้(ไทใหญ่)
- ใบ ลนไฟจนร้อนนำมาแปะบริเวณที่เป็นริดสีดวง, ใบ เข้ายาใส่ในห่อผ้าวางบนหินอังไฟแล้วนั่งทับแก้อาการปวดหลังปวดเอว(ไทใหญ่)
ราก ต้มน้ำใช้อาบแก้อาการตัวบวม อาการลมผิดเดือน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|