ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา สันโสก, เพี้ยฟาน
สันโสก, เพี้ยฟาน
Clausena excavata Burm.f.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Rutaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Clausena excavata Burm.f.
 
  ชื่อไทย สันโสก, เพี้ยฟาน
 
  ชื่อท้องถิ่น ระยอลร์(ขมุ), เส่เนอซี(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ขี้ฮอก(คนเมือง), เต็งละ(ม้ง), เหมือดหม่น,เฮือดหม่อน,เพี้ยฟาน(คนเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก โดยทั่วไปสูง 2-4 เมตร แต่บางต้นอาจสูงได้ถึง 15 เมตร ลำต้นโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ยาวได้ถึง 20 ซม. แตกกิ่งก้านสาขาไม่เป็นระเบียบ มีขนละเอียดอ่อนนุ่มคลุม
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนสองชั้นเรียงสลับช่อใบยาว 15-50 ซม. โคนช่อใบอาจมีช่อใบย่อยหลายช่อ ใบย่อย 15-31 ใบต่อช่อ ปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ก้านใบย่อยสีเขียว ก้านใบปลายยาวกว่าก้านใบข้างมาก แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปใบหอก ขนาดกว้าง 1-7 ซม. ยาว 2-20 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบเบี้ยด้านหนึ่งสอบเป็นรูปลิ่ม อีกด้านโค้งมน ขอบใบเรียบหรืออาจเป็นซี่หยักเล็กๆ ผิวใบแก่ด้านบนเกลี้ยงไม่มีขน ด้านล่างมีขนละเอียดบางๆ
ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ก้านดอกย่อยยาว 0.5-2.0 มม. วงกลีบเลี้ยงเล็กมาก กลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่แกมขอบขนาน ยาว 3.5-5.0 มม. สีเขียวอ่อนถึงขาวอมเหลือง เกสรเพศผู้ 8 อัน ก้านชูอับเรณู ยาว 1.5-3.5 มม. โคนโต ก้านชูเกสร เพศเมีย รูปทรงกระบอก ปลายกว้าง ยาวได้ถึง 1.8 มม. รังไข่รูปไข่ มีขนละเอียดคลุม
ผล มีเนื้อนอก รูปไข่ยาว 1-2 ซม. เมื่อสุกสีชมพูอมแดง ผิวเกลี้ยงหรืออาจมีขนละเอียดบางๆ [9]
 
  ใบ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนสองชั้นเรียงสลับช่อใบยาว 15-50 ซม. โคนช่อใบอาจมีช่อใบย่อยหลายช่อ ใบย่อย 15-31 ใบต่อช่อ ปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ก้านใบย่อยสีเขียว ก้านใบปลายยาวกว่าก้านใบข้างมาก แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปใบหอก ขนาดกว้าง 1-7 ซม. ยาว 2-20 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบเบี้ยด้านหนึ่งสอบเป็นรูปลิ่ม อีกด้านโค้งมน ขอบใบเรียบหรืออาจเป็นซี่หยักเล็กๆ ผิวใบแก่ด้านบนเกลี้ยงไม่มีขน ด้านล่างมีขนละเอียดบางๆ
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ก้านดอกย่อยยาว 0.5-2.0 มม. วงกลีบเลี้ยงเล็กมาก กลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่แกมขอบขนาน ยาว 3.5-5.0 มม. สีเขียวอ่อนถึงขาวอมเหลือง เกสรเพศผู้ 8 อัน ก้านชูอับเรณู ยาว 1.5-3.5 มม. โคนโต ก้านชูเกสร เพศเมีย รูปทรงกระบอก ปลายกว้าง ยาวได้ถึง 1.8 มม. รังไข่รูปไข่ มีขนละเอียดคลุม
 
  ผล ผล มีเนื้อนอก รูปไข่ยาว 1-2 ซม. เมื่อสุกสีชมพูอมแดง ผิวเกลี้ยงหรืออาจมีขนละเอียดบางๆ
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบ รับประทานสดกับลาบ(ขมุ)
ยอดอ่อน รับประทานสดจิ้มน้ำพริก มีรสขมเล็กน้อย(คนเมือง)
- ทั้งต้น ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน อาจใส่รวมกับแพพันชั้นก็ได้(คนเมือง)
ลำต้นและใบ ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้สรรพพิษ(คนเมือง)
กิ่งและใบ ต้มน้ำอาบหรืออบตัวแก้ไข้ ไม่สบาย หลังจากคลอดลูก ใช้ต้มรวมกับเมโกล่บละ กล้วยตานี และกล้วยป่า(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ยอดอ่อน รับประทานเป็นยาแก้อาการท้องผูก(ม้ง)
- ใบ เอาไปใส่รังไข่ช่วยไล่ไรไก่เพราะใบมีกลิ่นเหม็น รุนแรง(คนเมือง)
- เปลือกต้น พบสารที่มีฤทธิ์ต้านสารพิษที่ทำลายตับ ต้านอาการปวดและอักเสบ ใบหรือทั้ง 5 แก้ไข้มาลาเรีย วัณโรค รักษาโรคผิวหนัง ห้ามเลือด ฆ่าเชื้อโรค [5]
- ชาวเขาเผ่าลีซอใช้ใบต้มน้ำอาบให้ไก่เพื่อกำจัดไรไก่ หรือให้คนอาบเพื่อกำจัดเหาและไร หรือแก้แผลเปื่อย แผลอันเกิดจากอาการคันและเกา พวกม้งใช้ใบตำและอาจจะผสมกับใบพืชอื่นๆ เช่น ส้มโอ เครือเขาดำ ท้อ ตำร่วมกัน ห่อผ้ารัดที่ข้อมือด้านหนึ่งและข้อเท้าอีกด้านหนึ่ง แก้ไข้มาลาเรีย(8) กะเหรี่ยงใช้ทั้งต้นต้มอาบแก้อาการวิงเวียนศีรษะ(6) ชาวเขาโดยทั่วไปใบตำพอกแก้อาการอักเสบ บวมอันเกิดจากไฟ น้ำร้อนลวกหรือสาเหตุอื่นๆ ไทยใหญ่ใช้รากต้มกินเป็นยาบำรุงกำลัง [9]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[4] วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพร : รวมหลักเภสัชกรรมไทย. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, กรุงเทพฯ.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี.
[9] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 1. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า.
 
  สภาพนิเวศ พบได้ในป่าดิบ และบริเวณป่าผลัดใบที่มีการรบกวนน้อย ขึ้นได้ในดินทุกชนิด
 
  เอกสารประกอบ “หม่อน” พืชสารพัดประโยชน์,
 
ภาพนิ่ง