|
วงศ์ |
Rutaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Citrus aurantiifolia (Christm.) Swingle |
|
|
ชื่อไทย |
มะนาว, มะนาวพวง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- แผละนาว(ลั้วะ), ย่วนสะกุ้ย(ปะหล่อง), หน่อแกล่ะสะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), มะนาว(คนเมือง), สะซุยโพ่(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) - ส้มมะนาว มะลิง (ภาคเหนือ), ส้มน้าว (ภาคใต้) [3] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 2-4 เมตร มีลักษณะเป็นพุ่มลำต้นสีเทาแกมน้ำตาล มีหนามแหลมบริเวณกิ่งอ่อนและซอกใบ
ใบ เป็นใบประกอบชนิดใบย่อยหนึ่งใบ สีเขียวอ่อนรูปไข่ ยาวรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ขนาดใบกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีต่อมน้ำมันกระจาย (oil grand) ก้านใบสั้น
ดอก ช่อหรือดอกเดี่ยวสีขาวที่ซอกใบ กลิ่นหอมอ่อนๆ ร่วงง่าย
ผล มีลักษณะคล้ายรูปไข่ หรือค่อนข้างกลม มีตุ้มเล็กๆ ที่ปลายผล ผิวผลขรุขระมีต่อมน้ำมัน เมื่อสุกจะมีสีเหลือง เนื้อข้างในมีลักษณะเป็นกลีบหลายกลีบบรรจุถุงเยื่อบางๆ ขนาดเล็กจำนวนมากฉ่ำน้ำ มีสีเหลืองอ่อน รสเปรี้ยว มีเมล็ดขนาดเล็กคล้ายรูปไข่หัวและท้ายแหลม เนื้อในเมล็ดสีขาว [3] |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นใบประกอบชนิดใบย่อยหนึ่งใบ สีเขียวอ่อนรูปไข่ ยาวรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ขนาดใบกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีต่อมน้ำมันกระจาย (oil grand) ก้านใบสั้น
|
|
|
ดอก |
ดอก ช่อหรือดอกเดี่ยวสีขาวที่ซอกใบ กลิ่นหอมอ่อนๆ ร่วงง่าย
|
|
|
ผล |
ผล มีลักษณะคล้ายรูปไข่ หรือค่อนข้างกลม มีตุ้มเล็กๆ ที่ปลายผล ผิวผลขรุขระมีต่อมน้ำมัน เมื่อสุกจะมีสีเหลือง เนื้อข้างในมีลักษณะเป็นกลีบหลายกลีบบรรจุถุงเยื่อบางๆ ขนาดเล็กจำนวนมากฉ่ำน้ำ มีสีเหลืองอ่อน รสเปรี้ยว มีเมล็ดขนาดเล็กคล้ายรูปไข่หัวและท้ายแหลม เนื้อในเมล็ดสีขาว |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน ใช้ใส่ลาบแทนใบมะกรูด, ผล รับประทานได้(ปะหล่อง)
ผล ปรุงรสอาหารให้มีรสเปรี้ยว เช่น แกง ต้มยำ หรือยำ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่,คนเมือง,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,ลั้วะ)
- สรรพคุณความเชื่อ
ใบ รสเปรี้ยวฝาด ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไอ ละลายเสมหะ แก้ท้องอืด ท้องเสีย ช่วยขับลม ทำให้เจริญอาหาร [3]
ผล รสเปรี้ยว คั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาแก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้ร้อนใน บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ทาแก้ผิวหนังตกสะเก็ด แก้สิวฝ้า ส้นเท้าแตก รักษาแผลจากแมลงมีพิษ แก้เลือดออกตามไรฟันและถ่ายพยาธิ [3]
ผลดองเกลือใช้เป็นยาขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอ [3]
เปลือกผลแห้ง รสขม ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดท้อง ขับเสมหะ บำรุงกระเพาะอาหารและขับลม [3]
รากสด รสขมฝาด แก้ฟกชำจากการถูกกระแทกหรือหกล้ม แก้ปวด แก้ไข้ แก้ปวดอักเสบ และแก้พิษสุนัขกัด [3]
น้ำมะนาวรสเปรี้ยว ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย แก้ลมวิงเวียน ดับกลิ่นเหล้า ฟอก โลหิต บำรุงโลหิต แก้ระดูขาว แก้ไข้ทับฤดู ช่วยรักษาโรคกระเพาะ แก้อาหารเป็นพิษ ท้องร่วง ท้องผูกฆ่าพยาธิและช่วยป้องกันโรคหวัด เหงือกบวม และลักปิดลักเปิด [3]
น้ำจากผล รสเปรี้ยวปรุงอาหาร ทั้งน้ำและเปลือกรับประทานกับเมี่ยงหรือดองไว้ปรุงอาหาร ทำน้ำผลไม้ [3]
น้ำมะนาวผสมเกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ ช่วยบรรเทาอาการไอ เจ็บคอ เสียงแหบแห้ง บำรุงเสียง และช่วยขับเสมหะ [3]
เปลือกมะนาว คลึงให้น้ำมันออก แล้วนำไปชงน้ำดื่มแก้ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ [3]
ปูนแดงที่รับประทานกับหมากทาบนมะนาวที่ฝาน นำมาปิดที่ขมับช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ดี [3]
น้ำมะนาวผสมกับดินสอพองพอกบริเวณที่ปวดบวม แก้ฟกชำหัวโน น้ำมะนาว หยอดลงคอ กรดในน้ำมะนาวจะทำให้ก้างปลาอ่อนลงและหลุดได้ แก้ก้างติดคอ แก้เมาเหล้า เมายา
ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ [3]
น้ำมะนาวทาแก้กลากเกลื้อน แก้พุพอง น้ำกัดเท้า แก้หิดหูด [3]
กากเปลือกมะนาวบีบที่น้ำใช้แล้ว ถูล้างทำความสะอาดผิวหนัง โดยเฉพาะข้อศอก หัวเข่า ซอกเล็บและส้นเท้า ช่วยป้องกันข้อศอกและหัวเข่าด้าน เล็บขบและส้นเท้าแตก หรือถูฟันช่วยให้ฟันสะอาดและดับกลิ่นปาก [3] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบปลูกทั่วไป ขึ้นได้ในดินทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี |
|
|
เอกสารประกอบ |
|