|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
เชียด, ม้าสามเอ็น , อบเชยไทย, อบเชยต้น
|
เชียด, ม้าสามเอ็น , อบเชยไทย, อบเชยต้น
Cinnamomum iners Reinw. ex Blume |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Lauraceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cinnamomum iners Reinw. ex Blume |
|
|
ชื่อไทย |
เชียด, ม้าสามเอ็น , อบเชยไทย, อบเชยต้น |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ม้าสามเอ็น(คนเมือง), กัวเล่ะบิ๊(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เสี้ยง(ม้ง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 – 20 ม. ทรงพุ่มกลม หรือรูปเจดีย์ต่ำ ๆ ทึบ เปลือกสีน้ำตาลอมเทา ค่อนข้างเรียบ เกลี้ยง เปลือกและใบมีกลิ่นหอมอบเชย (cinnamon)
ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม หรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปขอบขนาน กว้าง 2.5 – 7.5 ซม. ยาว 7.5 – 25 ซม. เนื้อใบหนา เกลี้ยง แข็ง และกรอบ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้นยาวตลอดจนถึงปลายใบ ด้านล่างเป็นคราบขาว ๆ ก้านใบยาว 0.5 ซม.
ดอก มีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อน ออกเป็นช่อแบบกระจายที่ปลายกิ่ง ยาว 10 – 25 ซม. ดอกมีกลิ่นเหม็น
ผล มีขนาดเล็ก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 ซม. แข็ง ตามผิวมีคราบขาว ๆ แต่ละผลมีเมล็ดเดียว ฐานรองรับผลเป็นรูปถ้วย [7] |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม หรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปขอบขนาน กว้าง 2.5 – 7.5 ซม. ยาว 7.5 – 25 ซม. เนื้อใบหนา เกลี้ยง แข็ง และกรอบ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้นยาวตลอดจนถึงปลายใบ ด้านล่างเป็นคราบขาว ๆ ก้านใบยาว 0.5 ซม.
|
|
|
ดอก |
ดอก มีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อน ออกเป็นช่อแบบกระจายที่ปลายกิ่ง ยาว 10 – 25 ซม. ดอกมีกลิ่นเหม็น
|
|
|
ผล |
ผล มีขนาดเล็ก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 ซม. แข็ง ตามผิวมีคราบขาว ๆ แต่ละผลมีเมล็ดเดียว ฐานรองรับผลเป็นรูปถ้วย |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เปลือกต้น ตากให้แห้งแล้วนำไปเคี้ยวกินกับหมาก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- ราก ต้มน้ำดื่มแก้อการปวดหลังปวดเอว(คนเมือง)
เปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม เป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร(คนเมือง)
- เปลือกไม้ นำไปตากแห้งแล้วตำให้เป็นผง นำไปทำธูป ได้ มีกลิ่นหอม(ม้ง)
- ราก น้ำต้มให้สตรีกินหลังคลอดบุตร และลดไข้หลังการผ่าตัด ต้น เปลือกต้นใช้แทน cinnamon เคี้ยวกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ยาชงจากเปลือกต้น ใช้เป็นยาถ่าย
ใบ น้ำยางจากใบใช้ทาแผลถอนพิษของยางน่อง และตำเป็นยาพอกแก้ปวด rheumatism
เมล็ด ทุบให้แตกแล้วผสมกับน้ำผึ้ง ให้เด็กกินแก้บิดและแก้ไอ [7] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|