|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
Bitter bush, Siam weed
|
Bitter bush, Siam weed
Chromolaena odorata (L.) R.M.King |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Compositae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Chromolaena odorata (L.) R.M.King |
|
|
ชื่อไทย |
สาบเสือ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
พาพั้งขาว(ไทใหญ่), หญ้าเมืองวาย(ลั้วะ,คนเมือง), ด่อมังฮ่ามรุ่ย(ปะหล่อง), กู๋จ๊ะเมีย(เมี่ยน), จอดละเห่า(ม้ง), หญ้าวังวาย(ไทลื้อ), ยาแพ้(ขมุ), หญ้าวาย(ลั้วะ), ชีโพแกว่ะ,เชโพแกว่ะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ซิพูกุ่ย(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขามากมาย จนดูเป็นทรงพุ่ม ตามลำต้นและกิ่งก้านจะมีขนนุ่มประปราย ลำต้นสูงประมาณ 3 – 5 ฟุต
ใบ มีเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ปลายแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ตัวใบจะมีขนปกคลุมทั่วทั้งใบ มีสีเขียวขนาดของใบกว้างประมาณ 1 – 2.5 นิ้ว ยาว 2 – 4 นิ้ว ก้านใบยาว 1 – 2 นิ้ว มีขนปกคลุมด้วย
ดอก ออกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนยอดของต้น ลักษณะของดอกที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอด และตรงปลายจะแยกออกเป็น 5 กลีบ สีน้ำเงินอมม่วงอ่อน ๆ หรือสีขาวม่วง
ผล มีขนาดเล็ก แห้ง เรียวบาง มีสีดำ ซึ่งผลนี้จะเป็นสัน หรือเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม ยาวประมาณ 4 มม.[1] |
|
|
ใบ |
ใบ มีเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ปลายแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ตัวใบจะมีขนปกคลุมทั่วทั้งใบ มีสีเขียวขนาดของใบกว้างประมาณ 1 – 2.5 นิ้ว ยาว 2 – 4 นิ้ว ก้านใบยาว 1 – 2 นิ้ว มีขนปกคลุมด้วย
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนยอดของต้น ลักษณะของดอกที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอด และตรงปลายจะแยกออกเป็น 5 กลีบ สีน้ำเงินอมม่วงอ่อน ๆ หรือสีขาวม่วง
|
|
|
ผล |
ผล มีขนาดเล็ก แห้ง เรียวบาง มีสีดำ ซึ่งผลนี้จะเป็นสัน หรือเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม ยาวประมาณ 4 มม. |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ ต้มน้ำอาบแก้ตัวบวมหรือขยี้ใส่แผลช่วยห้ามเลือด(ไทใหญ่)
ใบ ขยี้ใส่แผลสด ช่วยห้ามเลือด(ลั้วะ,ปะหล่อง,เมี่ยน,ม้ง,ขมุ,ไทลื้อ,คนเมือง,กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ราก ต้มน้ำดื่มรักษาโรคกระเพาะ, ใบ ขยี้ใส่แผลสด ช่วยห้ามเลือด(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ทั้งต้น : มีกลิ่นหอมแรง ใช้เป็นยาฆ่าแมลง แต่ถ้านำมาใช้แต่น้อยก็เป็นที่น้ำหอมได้ดีอีกด้วย
ใบ : นำมาตำผสมกับปูนพอกห้ามเลือด และช่วยกระตุ้นการทำงานหรือควบคุมการหดตัวของลำไส้สัตว์ และมีผลต่อมดลูกของสัตว์[1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบได้ตามที่รกร้างทั่วไป ชอบพื้นที่แห้งแล้ง แสงแดดจัด |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|