|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
ข้าวหลาม,ไผ่ข้าวหลาม
|
ข้าวหลาม,ไผ่ข้าวหลาม
Cephalostachyum pergracile Munro |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Poaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cephalostachyum pergracile Munro |
|
|
ชื่อไทย |
ข้าวหลาม,ไผ่ข้าวหลาม |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
เหล้าด้งหาง(เมี่ยน), ไผ่ข้าวหลาม(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไผ่ข้าวหลามเป็นไผ่ขนาดกลาง ลำต้นตรง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-8 ซม. เนื้อลำบางหนาไม่ถึง 5 มม. ปล้องยาว 20-45 ซม. ลำต้นสีเขียวปนเทา กาบสีหมากสุก กาบหุ้มลำหลุดร่วงง่าย มีกิ่งขนาดเท่าๆ กันรอบข้อ |
|
|
ใบ |
ใบรูปลิ่มกว้าง 3-6 ซม. ยาว 15-30 ซม. ขอบใบสากคม ครีบใบเห็นได้ชัดมาก ขอบมีขนสีจาง กระจังใบแคบมาก กาบหุ้มใบไม่มีขน ขอบกาบหุ้มใบมีขนสีขาว โคนใบกลม |
|
|
ดอก |
ช่อดอกออกเป็นกลุ่ม ก้านดอกสั้น มีกลีบหุ้มดอกขนาดใหญ่ กลีบดอกมี 3 กลีบ หน่อมีขนาดใหญ่ |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- หน่ออ่อน ประกอบอาหารเช่นแกงหน่อไม้(เมี่ยน)
- ลำต้น ใช้จักเป็นตอกสำหรับทำเครื่องจักสานหรือทำกระบอกข้าว หลาม(เมี่ยน,ปะหล่อง)
ลำต้น ใช้ทำกระบอกข้าวหลาม(ปะหล่อง,คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|