|
วงศ์ |
Apiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Centella asiatica (L.) Urb. |
|
|
ชื่อไทย |
บัวบก |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ผักหนอก(ไทลื้อ,ขมุ,ลั้วะ), ด่อผักหนอก(ปะหล่อง), ฟ้าด(เมี่ยน), ชีโพเคาะลอเด๊าะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ผักหนอกนา(คนเมือง), เบาะโบทอเด๊าะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก อยู่ในจำพวกผัก ลำต้นชอบเลื้อยไปตามพื้นดินที่ชื้นแฉะโดยทั่ว ๆ ไปขึ้นง่าย
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ข้อ ข้อละ 2 – 10 ใบ มีลักษณะคล้ายรูปไต ใบกลมริมขอบใบจะเป็นจักเล็กน้อย
ดอก จะออกเป็นช่อคล้ายร่ม เดี่ยว ๆ หรือมีประมาณ 2 – 5 ช่อหนึ่งมักจะมีประมาณ 3 – 4 ดอก ดอกจะเป็นสีม่วงอมแดง ก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 0.5 – 5 ซม. ริ้วประดับจะมีประมาณ 2 – 3 ใบ เกสร เกสรตัวผู้นั้นจะสั้น
ผล จะมีลักษณะแบน มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 3 – 4 มม. [1] |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ข้อ ข้อละ 2 – 10 ใบ มีลักษณะคล้ายรูปไต ใบกลมริมขอบใบจะเป็นจักเล็กน้อย
|
|
|
ดอก |
ดอก จะออกเป็นช่อคล้ายร่ม เดี่ยว ๆ หรือมีประมาณ 2 – 5 ช่อหนึ่งมักจะมีประมาณ 3 – 4 ดอก ดอกจะเป็นสีม่วงอมแดง ก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 0.5 – 5 ซม. ริ้วประดับจะมีประมาณ 2 – 3 ใบ เกสร เกสรตัวผู้นั้นจะสั้น
|
|
|
ผล |
ผล จะมีลักษณะแบน มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 3 – 4 มม. |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ทั้งต้น นึ่งกินกับน้ำพริก(ไทลื้อ,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ใบ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ปะหล่อง,เมี่ยน)
ใบ รับประทานสดกับลาบหรือลวกจิ้มน้ำพริกก็ได้(คนเมือง)
ใบ นึ่งเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ลั้วะ)
- ทั้งต้น รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกมีสรรพคุณแก้อาการช้ำใน(ขมุ)
ใบ ตำผสมกับ สะระแหน่ หญ้าเอ็นยืดและคาวตอง ใช้ประคบบริเวณที่เอ็นขาด(ปะหล่อง)
ใบ ใช้ต้มน้ำดื่มแก้อาการช้ำใน(คนเมือง)
ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้อาการปวดเนื้อตัว ปวดกล้ามเนื้อ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ใบ หั่นผสมไข่ทำเป็นไข่ตุ๋นรับประทานเป็นยาแก้ไอ(เมี่ยน)
- ทั้งต้น ใช้รักษาอาการช้ำใน เป็นยาบำรุงหัวใจและบำรุงกำลัง รักษาอาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า ขับปัสสาวะ เป็นยาขับโลหิตเสีย รักษาโรคผิวหนัง ใช้รักษาบาดแผล รักษามุดกิจ ระดูขาว รักษาพิษเนื่องจากถูกงูกัด และรักษาอาการเริ่มเป็นบิด ทำให้โลหิตแผ่ซ่าน รักษาอาการท้องร่วง นอกจากนี้ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เป็นยารัก
- ทั้งต้น ใช้ปรุงเป็นยาโดยผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ซึ่งได้แก่พวก ว่านกาบหอย กล้วยหอมดิบ สนหมอก รากบัวหลวง ดอกเก็กฮวย ฯลฯ นำไปต้มกับน้ำตาลกรวดเพื่อแก้ร้อนใน เจ็บคอ เป็นยาเย็น ขับปัสสาวะ ส่วนใบของต้นนั้นมีฤทธิ์ในการห้ามเลือด แต่จะห้ามเฉพาะภายนอกเท่านั้น ภายในห้ามไม่ได้ ใช้ใบขยี้ทาอาการอักเสบของผิวหนัง ตำพอกแก้แผลเรื้อรังหรือผิวหนังอักเสบ ใช้ทาเมื่อถูกแมลงกัดต่อย[1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|