|
วงศ์ |
Fagaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Castanopsis acuminatissima (Blume) A.DC. |
|
|
ชื่อไทย |
ก่อเดือย |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
เส่โพร่ปริ๊(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ก่อเดือย, ก่อแม๊ด(ไทใหญ่) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ก่อเดือยเป็นไม้ไม่ผลัดใบขนาดกลาง กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม เปลือกแตกเป็นร่องหรือเป็นสะเก็ดตามยาว ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักห่างๆ ดอกเป็นช่อดอกตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ สีเหลืองและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลทรงกลมรวมอยู่บนช่อผล กาบหุ้มผลปกคลุมด้วยหนามสั้นและแข็ง จะแตกเมื่อผลแก่จัด |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผล นำไปคั่ว รับประทานเนื้อข้างในได้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
เนื้อในเมล็ด รับประทานได้(ไทใหญ่)
- เนื้อไม้ เป็นไม้เนื้อแข็ง ใช้ทำโครงสร้างส่วนต่างๆของบ้าน เช่น ฝาบ้าน เสาบ้าน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบขึ้นตามป่าดิบเขาและป่าเบญจพรรณ ความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800-1,400 เมตร |
|
|
เอกสารประกอบ |
|