|
วงศ์ |
Leguminosae (Caesalpiniaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Cassia fistula L. |
|
|
ชื่อไทย |
ราชพฤกษ์, คูน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ลมแล้ง(คนเมือง), คูน(ไทลื้อ), ตุ๊ดกรุ่น(ขมุ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ลมแล้งเป็นไม้ยืนต้น สูง 5-15เมตร |
|
|
ใบ |
ใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่หรือ รูปวงรีกว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-12 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ |
|
|
ดอก |
ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง ห้อยเป็นโคมระย้า กลีบดอกสีเหลือง |
|
|
ผล |
ผลเป็นฝักกลม สีน้ำตาลเข้มหรือดำ เปลือกแข็ง ผิวเรียบ ภายในมีผนังกั้นเป็นห้อง แต่ละห้องมีเมล็ด1เมล็ด หุ้มด้วยเนื้อสีดำเหนียว |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ลำต้น ใช้แช่น้ำดื่มรวมกับยอดหญ้าตดหมา ยอดฝ่าแป้ง ไพล เป็นยาแก้สรรพพิษ(คนเมือง)
เมล็ดแห้ง นำมาคั่วแล้วเคี้ยวกินเป็นยาถ่ายพยาธิ(ไทลื้อ)
แก่นไม้ ต้มกินเป็นยารักษาโรคนิ่วร่วมกับรากมะเดือยหิน หญ้าถอดปล้อง ใบสับปะรด และแก่นฝาง(ขมุ) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
พบในป่าผลัดใบทั่วไป ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนปนทราย |
|
|
เอกสารประกอบ |
|