|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
Fish tail palm
|
Fish tail palm
Caryota mitis Lour |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Arecaceae (Palmae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Caryota mitis Lour |
|
|
ชื่อไทย |
เต่าร้างแดง, เต่าร้าง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
จึ๊ก(ปะหล่อง), ซึ(ม้ง), ตุ๊ดชุก(ขมุ), เก๊าเขือง(ไทลื้อ), มีเซเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), เก๊าหม้าย, เก๊ามุ่ย, เก๊าเขือง(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ยืนต้น ตระกูลปาล์มแตกกอ ลำต้นขนาด 10-15 ซม. |
|
|
ใบ |
ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบย่อยรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า กว้าง 13-15 ซม. และ ยาว 20-30 ซม. ปลายแหลมคล้ายหางปลา โคนใบรูปลิ่ม ผิวใบสีเขียวเป็นมัน กาบใบ ยาว 0.5-2 เมตร โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ |
|
|
ดอก |
ช่อดอกเชิงลดสีขาวอมเหลือง ออกตามซอกใบห้อยลงยาว 60-80 ซม. |
|
|
ผล |
ผลกลุ่มทรงกลม เมื่อสุกสีแดงคล้ำ แต่ละผลมี 1 เมล็ด |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- แกนในของลำต้น แกงกินได้(ปะหล่อง,ขมุ,ไทลื้อ,คนเมือง)
แกนในยอดอ่อน ประกอบอาหารได้เช่น แกง เป็นต้น(ม้ง)
ยอดอ่อน กินสด นำไปต้มหรือแกง(กะเหรี่ยงแดง)
- ลำต้น ใช้ทำไม้ปลายแหลมสำหรับเจาะหลุมปลูกข้าวไร่ มีความทนทานใช้ได้นานหลายปี(ม้ง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|