|
วงศ์ |
Lecythidaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Careya arborea Roxb. (Syn. Careya sphaerica Roxb.) |
|
|
ชื่อไทย |
กระโดน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ละหมุด(ขมุ), ไม้ปุย,เก๊าปุย(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 10 – 30 เมตร มีกิ่งก้านสาขามาก
ใบ : ใบจะออกเรียงสลับกันเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ ขนาดของใบมีความกว้างประมาณ 6 นิ้ว ยาวประมาณ 12 นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 0.5 – 1 นิ้ว
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งยาวประมาณ 3 – 8 นิ้ว ลักษณะของดอกมีกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกอย่างละ 4 กลีบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบยาวประมาณ 1.5 นิ้ว กลีบรองกลีบดอกยาวประมาณ 1 นิ้ว โคนกลีบจะเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นฝอยสีแดง ยาวประมาณ 2 นิ้ว จะเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ จำนวนมาก
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกลม มีความกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 2.5 นิ้ว ภายในผลมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก[1] |
|
|
ใบ |
ใบ : ใบจะออกเรียงสลับกันเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ ขนาดของใบมีความกว้างประมาณ 6 นิ้ว ยาวประมาณ 12 นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 0.5 – 1 นิ้ว
|
|
|
ดอก |
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งยาวประมาณ 3 – 8 นิ้ว ลักษณะของดอกมีกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกอย่างละ 4 กลีบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบยาวประมาณ 1.5 นิ้ว กลีบรองกลีบดอกยาวประมาณ 1 นิ้ว โคนกลีบจะเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นฝอยสีแดง ยาวประมาณ 2 นิ้ว จะเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ จำนวนมาก
|
|
|
ผล |
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกลม มีความกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 2.5 นิ้ว ภายในผลมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบอ่อน นำไปต้มแล้วใช้ห่อเกลือกินแบบเมี่ยง(ขมุ)
ยอดอ่อน รับประทานสดกับน้ำพริก หรือตำมะม่วง(คนเมือง)
- เปลือกต้น ฟั่นเป็นเชือก(คนเมือง)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้านได้ดี มอดไม่กิน เพราเนื้อไม้มีรสฝาด(คนเมือง)
- เปลือกต้น ต้มรวมกับฝ้าย ใช้ย้อมผ้า ให้สีเหลืองอ่อน(คนเมือง)
- เปลือกต้น นำมาทุบใช้เป็นเบาะปูรองนั่งหลังช้าง หรือรองของไว้บนหลังช้าง(คนเมือง)
เปลือกต้น เอามาทำคบไฟ จุดไฟใช้ควันไล่แมลง ริ้น ไร หรือยุง(คนเมือง)
- เปลือกและผล ใช้เป็นยาฝาดสมาน ใบ มีสาร tannin 19% ซึ่งจะมีรสฝาด ใช้ปรุงเป็นน้ำมันสมานแผล หรือใช้ผสมกับเครื่องยาอื่น ๆ
ดอกและน้ำจากเปลือกผล ใช้ผสมกับน้ำผึ้งใช้ทานเป็นยาแก้หวัด แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ และเป็นยาบำรุงสำหรับสตรีหลังจากคลอดลูกแล้ว
ผล เป็นยาในการช่วยย่อยอาหาร
เมล็ด เป็นยาแก้พิษ
ราก เปลือก และใบ ใช้เป็นยาเบื่อปลา[1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|