ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Capsicums, Chillies
Capsicums, Chillies
Capsicum annuum L. (Syn. Capsicum frutescens L. var. frutescens)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Solanaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum annuum L. (Syn. Capsicum frutescens L. var. frutescens)
 
  ชื่อไทย พริก, พริกขี้หนู
 
  ชื่อท้องถิ่น - พริกขี้หนู(คนเมือง), หน่าวแกฟั่นจิว(เมี่ยน), หมูอิ๊ซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), หม่าปรี๊สะแก้(ปะหล่อง) - พริกขี้หนู, พริกชี้ฟ้า, พริกยักษ์, capsicum, sweet pepper, อานโซ, บาซิลเลีย [3]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นไม้ทรงพุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 45-75 ซม. ลักษณะลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม
ใบ เดี่ยวออกเรียงสลับกันและตรงข้าม ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม ดอกขนาดเล็กสีขาว
ดอก ดอกเดี่ยวออกตามข้อของลำต้น ประมาณ 1-3 ดอก ผลขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25-0.6 นิ้ว
ผลอ่อน มีสีเขียว เมื่อโตเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม แดง หรือ แดงปนน้ำตาล ผิวเป็นมัน ขนาดและรูปร่างของผลแตกต่างกันตามพันธุ์ มีรสเผ็ดมากน้อยตามชนิดพันธุ์ [3]
 
  ใบ ใบ เดี่ยวออกเรียงสลับกันและตรงข้าม ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม ดอกขนาดเล็กสีขาว
 
  ดอก ดอก ดอกเดี่ยวออกตามข้อของลำต้น ประมาณ 1-3 ดอก ผลขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25-0.6 นิ้ว
 
  ผล ผลอ่อน มีสีเขียว เมื่อโตเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม แดง หรือ แดงปนน้ำตาล ผิวเป็นมัน ขนาดและรูปร่างของผลแตกต่างกันตามพันธุ์ มีรสเผ็ดมากน้อยตามชนิดพันธุ์
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผล ใช้เพิ่มรสชาติอาหารประเภทต่างๆ ให้มีรสเผ็ด เช่น แกง ต้มยำ ยำ ผัด(คนเมือง,เมี่ยน,กะเหรี่ยงเชียงใหม่,ปะหล่อง)
- สรรพคุณความเชื่อ
พริกสด พริกแห้ง พริกป่น พริกดองช่วยเจริญอาหาร แก้อาเจียน บิด ขับเหงื่อ ขับลม เป็นเครื่องเทศ เครื่องแต่งสี กลิ่น รส ที่มีบทบาทสำคัญมากในอาหารไทยแทบทุกชนิด ทั้งน้ำพริก แกง ผัด ยำ ต้ม หมก หลน รวมทั้งซอส น้ำจิ้มปรุงรสต่างๆ ใช้ตกแต่งอาหารให้ดูสวยน่ารับประทาน และแต่งสี กลิ่น รส เครื่องดื่มและเหล้า [3]
แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว กลาก หิต บรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดอาการไขข้ออักเสบ ปวดบวม ใช้ผลพริกขี้หนูดองสุราหรือบดผสมวาสลิน 5 ส่วนในพริก 1 ส่วน ใช้ทาถูนวดบริเวณที่เป็น [3]
แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ใช้ต้นสุกเป็นถ่านแช่น้ำดื่ม [3]
ใบแก้อาการคันจากมดคันไฟ [3]
ยอดอ่อนของพริก รับประทานโดยลวกเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก หรือนำมาปรุงเป็นอาหาร ประเภทแกงจืด แกงเลียง ส่วนผลทั้งสดและแห้งมักใช้เป็นเครื่องปรุงรสและแต่งสีแต่งกลิ่นเพื่อให้มีสีสันสวยน่ารับประทานและมีรสชาติอร่อยขึ้น เช่น แกงเผ็ดต่างๆ แกงเขียวหวานเป็นต้น [3]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง