|
วงศ์ |
Rubiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Canthium parvifolium Roxb. |
|
|
ชื่อไทย |
หนามมะเค็ด |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ข้าวจี่(คนเมือง), ก้องแกบ(คนเมือง), ฟ่องเช่ทาง(เมี่ยน), ตุ๊ดเหลอะ(ขมุ), หนามเก๊ด(ไทลื้อ), ไฮ่เร่อ(ปะหล่อง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
หนามมะเค็ด เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นและกิ่งสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านสาขามาก |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับ ปลายใบมน โคนแหลม หรือ สอบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวเรียบมัน เนื้อใบหนา สีเขียวสด มีหนามแหลมเป็นคู่ๆ ตามข้อ |
|
|
ดอก |
ช่อดอกกระจะ ออกที่ซอกใบและปลายยอด ดอกสีขาวแยกเพศอยู่คนละต้น เกสรเพศผู้จำนวนมาก ผลอ่อนมีหัวจุกสีเขียว จะหลุดร่วงเมื่อโตขึ้น |
|
|
ผล |
ผลเป็นผลสด รูปทรงกลม ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีเหลือง เนื้อผลนิ่ม เมล็ดขนาดเล็ก สีดำ |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผลสุก รับประทานได้ แต่ต้องปลอกเปลือกก่อนเพราะเปลือกมีรสขม(คนเมือง,ปะหล่อง)
ผลสุก รับประทานได้มีรสเปรี้ยวใบอ่อน นำไปหมกใส่ กับเจี้ยนตาซุย(ลิเภาป่า/ลิภาหางไก่) และเห็ดแก๊น ช่วยให้ รสชาติอร่อย(เมี่ยน)
ผลสุก นำไปหมกไฟแล้วรับประทานได้(ไทลื้อ)
ผลสุก นำไปต้มแล้วรับประทานได้(ขมุ)
- ผล นำไปหมกไฟกินกับข้าว และเชื่อว่าถ้าให้เด็กกิน จะทำ ให้ไม่ฉี่รดที่นอน(คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|