ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Rattan
Rattan
Calamus floribundus Griff.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Arecaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Calamus floribundus Griff.
 
  ชื่อไทย หวายน้ำขาว
 
  ชื่อท้องถิ่น เร่วหม่าไอ้หลุ่ย(ปะหล่อง), หวายหนามขาว(คนพื้นเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ หวายมีลักษณะการเจริญเติบโตแบบเลื้อย (climbing rattan) และแตกหน่อออกเป็นกลุ่มกอ (clustering rattan) ลำต้น (clum) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30-33 มม. และลำต้นจริง (rattan cane) 15-22 มม. ส่วนของกาบใบ (leaf sheath) สีเขียวเข้มเคลือบด้วยไขสีขาวบางๆ มีหนามเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นระเบียบ กาบใบมีความยาว 45-60 ซม. ในตำแหน่งปลายกาบใบหรือโคนก้านใบมีลักษณะนูนคล้ายหัวเข่า (knee) ก้านใบ (rachis) มีสีเขียวเข้มด้านใต้มีหนามแหลมยาว 60-70 มม. ส่วนปลายหนามมีสีน้ำตาลหรือสีเขียวอ่อน บนก้านใบเกิดใบย่อย (leaflet) สีเขียวเข้มเรียงตัวในแนวระนาบสองด้านข้างรูปขนนก (pinnate) มีจำนวนใบย่อย 70-90 ใบต่อก้านใบ ใบย่อยเป็นรูปหลังคา (roof shaped) ในแนวตัดขวาง การเกิดเพศดอกเป็นแบบ dioecious และชนิดของการเกิดช่อดอกแบบ pleonanthic ช่อดอกมีส่วนของกาบช่อ (bract) รูปหลอด (tubular) บนแกนช่อดอกจะเกิดกลุ่มแขนงช่อดอกเป็นช่วงๆ (order branching) จำนวน 3-5 ชั้น แต่ละกลุ่มแขนงช่อดอกจะมีแขนงย่อยชั้นในสุด (rachillae) จำนวน 15-20 แขนง ดอกเพศผู้ (male flower) และดอกเพศเมีย (female flower) ประกอบด้วยกลีบดอก (sepal) และกลีบเลี้ยง (petal) จำนวนอย่างละ 3 กลีบ ในดอกเพศผู้มีอับเรณูจำนวน 6 อันและรังไข่ที่ฝ่อ (pistiloid) ดอกเพศเมีย ปลายดอกมียอดเกสรแยกออกเป็น 3 แฉก ปกติผลประกอบด้วย 1 เมล็ดต่อผลแต่สามารถพบ 2 เมล็ดต่อผลได้แต่น้อยมาก เปลือกผลเป็นเกล็ดเรียงเกยซ้อนกันหันด้านปลายเกล็ดสู่ด้านขั้วผล และจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนหรือครีมเมื่อสุก ขนาด 6.5-8.0 มม. เมล็ดมีผิวขรุขระสีน้ำตาลเข้ม ห่อหุ้มด้วยส่วนของเนื้อใส (sarcotesta) ซึ่งจะมีรสเปรี้ยวฝาดเมื่อสุก ภายในประกอบด้วยต้นอ่อน (embryo) ขนาด 0.5x1.0 มม. ฝังตัวอยู่ภายในเอ็นโดสเปริมส์ในแนวนอนด้านส่วนที่เว้าของเมล็ด
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - หน่ออ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่น แกง(ปะหล่อง)
- ลำต้น ทำเป็นที่ประดับเอวของสาวชาวประหล่อง(ปะหล่อง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง