|
วงศ์ |
Leguminosae (Caesalpiniaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Caesalpinia sappan L. |
|
|
ชื่อไทย |
ฝาง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- ฝาง(ขมุ,ไทลื้อ,คนเมือง), ลำฝาง(ลั้วะ), สะมั่วะ(เมี่ยน) - ง้าย (กระเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ฝางส้ม (กาญจนบุรี), หนามโค้ง (แพร่), ฝางเสน (กรุงเทพฯ), ฝางแดง [3] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นพุ่มไม้กึ่งไม่รอเลื้อยแตกแขนงชิดหรือเกือบชิดพื้นสูง 8-10 เมตร ตามลำดับและกิ่งมีหนามแข็งโค้งทั่วไป ถ้าปล่อยตามธรรมชาติจะกลายเป็นไม้เถาขนาดใหญ่ เลื้อยพาดเกาะไม้อื่นไปได้ถึง 10 เมตร เรือนยอดรกสับสน แผ่กระจายให้ร่มเงา ถ้าตัดแต่งช่วยจะให้เรือนยอดเป็นพุ่มได้ตามต้องการ เปลือกนอกสีเทาออกเหลือง มีปมใหญ่ขนาดปลายนิ้วชี้ทั่วไปทั้งเถา ส่วนปลายมีหนามแหลมสีดำ ปมหนามหลุดจะเป็นรอยแผลเป็น เปลือกสีขาวอมชมพู
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน ใบประกอบยาว 15-45 เซนติเมตร มีใบประกอบแขนงแตกออกตรงข้ามกันทางด้านข้าง 8-16 คู่ แต่ละใบประกอบแขนงมีใบย่อยออกตรงข้ามกัน 7-18 คู่ ใบยอดเล็กเป็นฝอย คล้ายใบหางนกยูงไทย รูปขอบขนาน กว้าง 6-10 มิลลิเมตร ยาว 10-20 มิลลิเมตร ปลายมน เว้าตรงกลางเล็กน้อย โคนเบี้ยวขนาดไม่เท่ากัน ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีเขียวสดใสมาก ใบแก่สีเขียวเข้ม
ดอก เป็นช่อ ไม่แตกแขนง ออกตามปลายกิ่ง และตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 15-20 มิลลิเมตร มีขนประปราย ดอกแต่ละช่อเป็นช่อรวมหลายสิบดอก ดอกบานจากโคนช่อดอกออกไปยังปลายช่อคล้ายราชพฤกษ์ ดอกแต่ละดอกมีกลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ ขอบกลีบเกยซ้อนทับกัน กลีบล่างสุดโค้งงอและมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่นๆ กลีบดอกรูปไข่กลับหรือรูปช้อน ผิวและขอบกลีบย่น โคนกลีบจะคดเรียว มีขนยาวคลุมจากโคนกลีบถึงกลางของกลีบ ดอกสีเหลืองมีกลิ่นหอมแรง เกสรตัวผู้มี 10 อัน มีขนทั่วไป รังไข่รูปรีๆ มีขนแน่น ภายในมี 1 ช่อง และมีไข่อ่อนมาก
ผล เป็นฝักแข็ง แบน สีน้ำตาลแก่เป็นจุด ลักษณะคล้ายฝักถั่วแปบ กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร รูปรี ผลแก่แห้ง สีน้ำตาล ปลายฝักมีจงอยแหลม แต่ละฝักมี2-4 เมล็ด รูปรี [3] |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน ใบประกอบยาว 15-45 เซนติเมตร มีใบประกอบแขนงแตกออกตรงข้ามกันทางด้านข้าง 8-16 คู่ แต่ละใบประกอบแขนงมีใบย่อยออกตรงข้ามกัน 7-18 คู่ ใบยอดเล็กเป็นฝอย คล้ายใบหางนกยูงไทย รูปขอบขนาน กว้าง 6-10 มิลลิเมตร ยาว 10-20 มิลลิเมตร ปลายมน เว้าตรงกลางเล็กน้อย โคนเบี้ยวขนาดไม่เท่ากัน ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีเขียวสดใสมาก ใบแก่สีเขียวเข้ม
|
|
|
ดอก |
ดอก เป็นช่อ ไม่แตกแขนง ออกตามปลายกิ่ง และตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 15-20 มิลลิเมตร มีขนประปราย ดอกแต่ละช่อเป็นช่อรวมหลายสิบดอก ดอกบานจากโคนช่อดอกออกไปยังปลายช่อคล้ายราชพฤกษ์ ดอกแต่ละดอกมีกลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ ขอบกลีบเกยซ้อนทับกัน กลีบล่างสุดโค้งงอและมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่นๆ กลีบดอกรูปไข่กลับหรือรูปช้อน ผิวและขอบกลีบย่น โคนกลีบจะคดเรียว มีขนยาวคลุมจากโคนกลีบถึงกลางของกลีบ ดอกสีเหลืองมีกลิ่นหอมแรง เกสรตัวผู้มี 10 อัน มีขนทั่วไป รังไข่รูปรีๆ มีขนแน่น ภายในมี 1 ช่อง และมีไข่อ่อนมาก |
|
|
ผล |
ผล เป็นฝักแข็ง แบน สีน้ำตาลแก่เป็นจุด ลักษณะคล้ายฝักถั่วแปบ กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร รูปรี ผลแก่แห้ง สีน้ำตาล ปลายฝักมีจงอยแหลม แต่ละฝักมี2-4 เมล็ด รูปรี |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- กิ่งแก่ นำไปต้มกินเป็นน้ำชา(เมี่ยน)
- แก่นไม้ ต้มกินเป็นยารักษาโรคนิ่วร่วมกับรากมะเดือยหิน หญ้าถอดปล้อง ใบสับปะรด แก่นต้นคูน(ขมุ)
กิ่ง ตัดเป็นท่อนๆแล้วตากแห้ง แล้วนำไปต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดหลังปวดเอว(ลั้วะ)
เมล็ดแก่แห้ง นำไปต้มน้ำดื่มรักษาโรคความดันโลหิตสูงหรืออาจจะบดเป็นผงแล้วกินก็ได้(เมี่ยน) กิ่งแก่ นำไปต้มกินเป็นน้ำชา(เมี่ยน)
แก่นไม้ ตากแห้งผสมกับเปลือกลำต้นนางพญาเสือโคร่ง ลำต้นฮ่อสะพายควาย ม้ากระทืบโรง ตานเหลือง มะตันขอ ข้าวหลามดง หัวยาข้าวเย็น ไม้มะดูก และโด่ไม่รู้ล้มต้มน้ำ ดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย หรือใช้ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงเลือด(คนเมือง)
- แก่นไม้ นำมาต้มน้ำดื่มผสมกับใบเตย หรือผลมะตูม ช่วยให้มีสีสันสวยงาม(ไทลื้อ)
- สรรพคุณความเชื่อ
เนื้อไม้และแก่นฝาง รสขื่นขมหวานฝาด ใช้แก้ปวดท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อน ยาบำรุงโลหิตสตรี ขับประจำเดือน แก้ปอดพิการ ขับหนอง แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา รักษาน้ำกัดเท้า แก้คุดทะราด แก้เสมหะ เลือดกำเดา [3]
ขับประจำเดือน ใช้แก่น 5-15 กรัม ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เติมเนื้อมะขามเปียกที่ติดรก (แกะเมล็ดออกแล้ว) ประมาณ 4-6 ฝักเคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว รับประทานเช้า-เย็น [3]
รักษาน้ำกัดเท้า ใช้แก่น 2 ชิ้น ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ทาบริเวณน้ำกัดเท้าเนื่องจากแก่นฝางมีสารฝาดสมาน [3]
แก้ท้องร่วงท้องเดิน ใช้แก่น 3-9 กรัม ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี้ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว หรือใช้ฝาง 1 ส่วนน้ำ 20 ส่วน ต้มเคี้ยว 15 นาที รับประทานครั้งละ 2-4 ช้อนโต๊ะ หรือ 4-8 ช้อนแกง [3]
แก่นฝางขับหนอง รักษาอาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ไม่ให้ร้อน บำรุงโลหิต แก้ปอดพิการ แก้ลม แก้เสมหะ ขับเลือด แก้คุดทะราด แก้ธาตุพิการ แก้ร้อน แก้โลหิตตกทางทวารกนักและทวารเบา
ใช้เครื่องเรือนชั้นดี สีของเนื้อไม่ออกแดงหรือน้ำตาลเข้ม
ปลูกเป็นไม้ประดับได้ [3] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบกระจายตามป่าผลัดใบ และป่าหินปูนทั่วไป เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญได้ดีในดินร่วนซุย |
|
|
เอกสารประกอบ |
|