|
วงศ์ |
Sapindaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Schleichera oleosa (Lour.) Merr. (Syn. Schleichera oleosa (Lour.) Oken) |
|
|
ชื่อไทย |
ตะคร้อ. มะโจ้ก |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
มะเคาะ,มะโจ้ก(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
มะเคาะ หรือมะค้อเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10- 25 เมตร ส่วนมากต้นคดงอและเป็นปุ่มปม เปลือกสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นสะเก็ดหนาๆ |
|
|
ใบ |
ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ออกเรียงสลับ รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมไข่กลับ ขอบใบเป็นคลื่น |
|
|
ดอก |
ดอกช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง สีเหลืองอมเขียว |
|
|
ผล |
ผล ทรงกลมหรือรูปไข่ ปลายแหลม แข็ง เมื่อสุกสีเหลือง เนื้อผลนิ่ม เมล็ดโต รูปกลมรี สีน้ำตาล |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
"- ผลสุก รับประทานได้ มีรสเปรี้ยวหวาน(ปะหล่อง,คนเมือง)
- เปลือกต้น แช่น้ำดื่มแก้อาการท้องเสียรวมกับเปลือกมะกอก เป๋ยเบาะ(ตะแบก) ไม้ค้ำ(คนเมือง)
- เนื้อไม้ ใช้ทำเขียง(คนเมือง)
- เนื้อไม้ ใช้เผาถ่านทำฟืน(คนเมือง)"
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
มีเขตกระจายพันธุ์ในป่าผลัดใบ ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย |
|
|
เอกสารประกอบ |
|