|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
ผักปู่ย่า, หนามปู่ย่า, ช้าเรือด
|
ผักปู่ย่า, หนามปู่ย่า, ช้าเรือด
Caesalpinia mimosoides Lam. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Leguminosae (Caesalpiniaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Caesalpinia mimosoides Lam. |
|
|
ชื่อไทย |
ผักปู่ย่า, หนามปู่ย่า, ช้าเรือด |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
หนามย่าไห้(คนเมือง,ไทใหญ่), ผักปู่ย่า(คนเมือง,ไทลื้อ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ผักปู่ย่าเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรงหรือทอดเลื้อย มีขนและหนามทั่วทั้งต้น หูใบร่วงง่าย |
|
|
ใบ |
ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 25-40 ซม. ช่อใบย่อย 10-30 คู่ ใบย่อย 10-20 คู่ รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 4 มม. ยาวประมาณ 10 มม. |
|
|
ดอก |
ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง |
|
|
ผล |
ผลเป็นฝักรูปร่างคล้ายกระเพาะโป่งพอง |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่แกงหน่อไม้(ไทลื้อ)
ยอดอ่อน รับประทานสดจิ้มน้ำพริก(คนเมือง,ไทใหญ่)
- ราก ใช้ดองเหล้า ดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง(คนเมือง)
ยอดอ่อน รับประทานกับแกงหน่อไม้ เชื่อว่ามีสรรพคุณแก้ ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ(คนเมือง)
ใบ ใช้แช่น้ำดื่มหรือตำกับมะเขือแจ้กินเพื่อขับถ่ายพยาธิ และให้เจริญอาหาร, ทั้งต้น ต้มให้เด็กที่ไม่สบายอาบ(ไทใหญ่) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|