|
วงศ์ |
Moraceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Broussonetia papyrifera (L.) Vent. |
|
|
ชื่อไทย |
ปอกระสา |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ลำสา(ลั้วะ), หนั้ง(เมี่ยน), ไม้สา(ไทลื้อ), ป๋อสา(คนเมือง), ตุ๊ดซาแล(ขมุ), ไม้ฉายเล (ไทใหญ่), เตาเจ(ม้ง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ผิวเปลือกของลำต้นมีลักษณะค่อนข้างขรุขระ ลำต้นเมื่อถูกกีดก็จะมีน้ำยางสีขาวไหลออกมา
ใบ ใบออกสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี โคนใบเว้าเข้าลึก คล้ายเป็นรูปหัวใจ ส่วนปลายใบแหลม ริมขอบใบหยักเป็นแบบฟันปลา หลังใบมีขนขึ้นประปราย เป็นสีเขียว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 นิ้ว ยาวประมาณ 3-7นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 1-4 นิ้ว
ดอก ดอกออกเป็นช่อ มีทั้งดอกตัวเมียและดอกตัวผู้ แยกออกเป็นคนละช่อ ลักษณะของช่อดอกตัวเมีย จะเป็นรูปทรงกลม ก้านเกสรเป็นเส้นฝอย ยาวมีสีม่วง และมีหลอดรังไข่อยู่ตรงกลางดอก สำหรับช่อดอกตัวผู้มีความยาวประมาณ 2 นิ้ว ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบดอกอยู่ 4 กลีบและมีเกสร 4 อัน
ผล ผลจะออกตามบริเวณง่ามใบ ลักษณะของผลมีเนื้อนิ่ม ขนาดโตประมาณ 2 ซม. ผลเป็นรูปค่อนข้างกลม เมื่อแก่หรือสุก จะมีเป็นสีแดงสด [1] |
|
|
ใบ |
ใบ ใบออกสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี โคนใบเว้าเข้าลึก คล้ายเป็นรูปหัวใจ ส่วนปลายใบแหลม ริมขอบใบหยักเป็นแบบฟันปลา หลังใบมีขนขึ้นประปราย เป็นสีเขียว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 นิ้ว ยาวประมาณ 3-7นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 1-4 นิ้ว
|
|
|
ดอก |
ดอก ดอกออกเป็นช่อ มีทั้งดอกตัวเมียและดอกตัวผู้ แยกออกเป็นคนละช่อ ลักษณะของช่อดอกตัวเมีย จะเป็นรูปทรงกลม ก้านเกสรเป็นเส้นฝอย ยาวมีสีม่วง และมีหลอดรังไข่อยู่ตรงกลางดอก สำหรับช่อดอกตัวผู้มีความยาวประมาณ 2 นิ้ว ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบดอกอยู่ 4 กลีบและมีเกสร 4 อัน
|
|
|
ผล |
ผล ผลจะออกตามบริเวณง่ามใบ ลักษณะของผลมีเนื้อนิ่ม ขนาดโตประมาณ 2 ซม. ผลเป็นรูปค่อนข้างกลม เมื่อแก่หรือสุก จะมีเป็นสีแดงสด |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เปลือกต้น ใช้ทำเชือก(ลั้วะ)
- เปลือกต้น ลอกออกแล้วนำไปขาย กิโลกรัมละ 10-20บาท(ลั้วะ,ไทลื้อ,คนเมือง,ม้ง,ขมุ)
ใบ หั่นหยาบๆใช้เป็นอาหารหมูได้(เมี่ยน)
ใบ ใช้เลี้ยงวัว(ไทลื้อ)
ใบ หั่นแล้วต้มผสมรำเป็นอาหารหมู(คนเมือง,ม้ง)
ยอดอ่อน ต้มให้หมูกิน(ไทใหญ่)
- เปลือกลำต้น ใช้เปลือกลำต้นที่แห้งแล้ว ประมาณ 6-9 กรัมนำมาบดให้ละเอียด หรือทำเป็นยาก้อนเล็กๆ หรือใช้ต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ไอ เป็นบิดอุจจาระเป็นเลือด และผู้หญิงที่เลือดตก หรือนำเอาเผาไฟให้เป็นเถ้าแล้วบดให้ละเอียดใช้แต้มตา แก้ตาเป็นต้อ
ใบ ใช้ใบสดประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มแล้วคั้นเอาน้ำ กินเป็นยาแก้บวมน้ำ กระอักเลือด อาเจียนออกมาเป็นเลือด เลือดกำเดาไหลไม่หยุด หรือนำมาบดให้ละเอียดเป็นผง แล้วทำเป็นยาเม็ดกิน แก้ปัสสาวะเป็นหนอง หูอื้อ ตาไม่สว่าง หรือนำมาตำคั้นเอาน้ำ หรือเอากากมาพอกบริเวณที่เป็นบาดแผลมีเลือดออก แก้พิษสัตว์กัดต่อย ผื่นคัน เป็นต้น
กิ่งก้านอ่อน ใช้เปลือกกิ่งก้านอ่อน นำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำกินแก้ก้างปลา หรือกระดูกติดคอ โรคตาแดง หรือเอากากพอกบริเวณที่เป็นผื่นคัน และบาดแผลที่มีเลือดออกเป็นต้น
ผล ใช้ที่แห้งแล้วประมาณ 3-12 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือใช้บดให้ละเอียดแล้วผสมกับสุราทำเป็นยาก้อนเล็ก เป็นยาบำรุงไต และตับ ชูกำลัง ตาเป็นต้อ บวมน้ำ เป็นต้น หรือนำมาตำแล้วใช้พอกบริเวณที่เป็นฝีมีหนอง เป็นต้น
น้ำยาง ใช้น้ำยางที่สด นำมาทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน บาดแผล แก้บวมน้ำ และแก้แมลงพิษกัดต่อย เป็นต้น
รากและเปลือกราก ใช้รากและเปลือกรากที่แห้งแล้วประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข แก้ไอ แก้บวมน้ำ ขับปัสสาวะ ปวดฝี หรือนำมาหั่น บดให้เป็นผงละเอียด ใส่บริเวณที่เป็นแผลมีเลือด แผลฟกช้ำเป็นต้น [1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|