ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ครามน้ำ
ครามน้ำ
Breynia retusa (Dennst.) Alston
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Euphorbiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Breynia retusa (Dennst.) Alston
 
  ชื่อไทย ครามน้ำ
 
  ชื่อท้องถิ่น -
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม รอเลื้อยหรือตั้งตรง สูงได้ประมาณ 5 ม. ดอกแยกเพศร่วมต้น ไม่มีน้ำยาง หูใบขนาดเล็ก ยาว 1-2 มม. ร่วงง่าย ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 1.2-3.6 ซม. ปลายใบมนหรือกลม บางครั้งเป็นติ่งแหลมสั้นๆ โคนใบมน เบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง ด้านล่างมีนวล เส้นแขนงใบข้างละ 5-7 เส้น เรียงจรดกัน ก้านใบยาว 0.5-2.5 มม. ดอกออกเป็นกระจุกหรือออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้อยู่ช่วงล่าง ก้านดอกยาว 1.5-5 มม. กลีบเลี้ยงบางสีเขียวอ่อนหรือสีส้ม ยาว 3-5 มม. หยักตื้นๆ 6 หยัก เกสรเพศผู้ 3 อัน มีก้านเกสรร่วม ยาว 1-1.5 มม. อับเรณู 2 ช่อง ยาวประมาณ 1 มม. ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ ช่วงปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 1.2-3 มม. กลีบเลี้ยง 6 กลีบ สีเขียวอ่อน ขนาดประมาณ 1.5 มม. หยักตื้นๆ มีขนด้านนอก ขยายในผล เปลี่ยนเป็นสีชมพูอมแดง ติดทน รังไข่รูประฆัง มี 3 ช่อง ยาวประมาณ 1 มม. ยอดเกสรเพศเมียเชื่อมติดกันประมาณกึ่งหนึ่งเป็นก้านเกสรเพศเมียสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 แฉก ปลายแฉกแยก 2 พู ผลแบบแคปซูล ทรงกลม แบน หยัก 3 พูตื้นๆ ขนาดประมาณ 5-8 มม. ก้านผลยาว 2-6 มม. กลีบเลี้ยงขยายออก เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6-1.7 ซม. แฉกยาวได้ประมาณ 3 มม. ผลสุกสีแดง เมล็ดรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 4 มม. มีเยื่อหุ้มสีเหลืองหรือแดง
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่นแกง(ปะหล่อง)
- ใบ กิ่ง และราก ต้มอาบแก้อาการผื่นคัน(ปะหล่อง)
 
  อ้างอิง - เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
- http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=%A4%C3%D2%C1%B9%E9%D3
 
  สภาพนิเวศ ครามน้ำมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา เนปาล ภูฎาน พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน และคาบสมุทรมลายู ในไทยพบทุกภาค ขึ้นในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และป่าดิบชื้น ริมลำธาร บนสันเขา หรือเขาหินปูน ระดับความสูง 100-1300 เมตร
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง