ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Leaf mustard, Indian mustard - Mustard [3]
- Leaf mustard, Indian mustard - Mustard [3]
Brassica juncea (L.) Czern.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Brassicaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica juncea (L.) Czern.
 
  ชื่อไทย ผักกาดเขียว
 
  ชื่อท้องถิ่น - บะเคะโยะ(ลั้วะ), ด่อซี่ย่ำ(ปะหล่อง) - เมล็ดมัสตาร์ด, ผักกาดดำ, ผักกาดขาว [3] - ผักกาดจ้อน (เชียงใหม่); ผักกาดดำ, ผักกาดโป้ง, ผักเปิ๊ก (เหนือ). [6]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ พืชล้มลุก, ลำต้นตั้งตรง, สูงได้ถึง 1 ม, เกลี้ยง, แตกกิ่งด้านสาขามาก.
ใบ เป็นใบเดี่ยว, เรียงสลับกัน, ไม่มีหูใบ; ใบที่โคนต้นรูปขอบขนานแกมรูปหอก, ขอบหยักเป็นแฉก, ยาวได้ถึง 20 ซม, มีก้านใบ; ส่วนใบที่อยู่ตอนบนรูปหอกแคบ ๆ; ก้านใบสั้นมาก หรือ ไม่มีเลย.
ดอก ออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายยอด, มีทั้งเพศผู้ และเพศเมียในดอกเดียวกัน, กลีบรองกลีบดอก 4 กลีบ, รูปไข่แกมขอบขนาน, เรียงเป็นสองชั้น; กลีบดอก 4 กลีบ, สีเหลือสด, โคนกลีบสอบแคบคล้ายก้าน; เกสรผู้ 6 อัน, สี่อันยาวเรียงอยู่วงใน, สองอันสั้นเรียงอยู่วงนอก; อับเรณูรูปหัวลูกศร, เมื่อแก่จะแตกตามยาว; รังไข่รูปยาว, มี 2 ช่อง, เชื่อมติดกัน; ท่อรับไข่เรียวเล็ก; ปลายท่อเป็นหัวกลม.
ผล เป็นฝัก, รูปยาวแคบแกมรูปหอก, ยาว 1.2 – 3.5 ซม.; มีจงอยยาวประมาณ 1.2 ซม, ตรง และค่อนข้างแบน. เมล็ด เล็ก, สีดำ, ผิวขรุขระ. [6]
 
  ใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว, เรียงสลับกัน, ไม่มีหูใบ; ใบที่โคนต้นรูปขอบขนานแกมรูปหอก, ขอบหยักเป็นแฉก, ยาวได้ถึง 20 ซม, มีก้านใบ; ส่วนใบที่อยู่ตอนบนรูปหอกแคบ ๆ; ก้านใบสั้นมาก หรือ ไม่มีเลย.
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายยอด, มีทั้งเพศผู้ และเพศเมียในดอกเดียวกัน, กลีบรองกลีบดอก 4 กลีบ, รูปไข่แกมขอบขนาน, เรียงเป็นสองชั้น; กลีบดอก 4 กลีบ, สีเหลือสด, โคนกลีบสอบแคบคล้ายก้าน; เกสรผู้ 6 อัน, สี่อันยาวเรียงอยู่วงใน, สองอันสั้นเรียงอยู่วงนอก; อับเรณูรูปหัวลูกศร, เมื่อแก่จะแตกตามยาว; รังไข่รูปยาว, มี 2 ช่อง, เชื่อมติดกัน; ท่อรับไข่เรียวเล็ก; ปลายท่อเป็นหัวกลม.
 
  ผล ผล เป็นฝัก, รูปยาวแคบแกมรูปหอก, ยาว 1.2 – 3.5 ซม.; มีจงอยยาวประมาณ 1.2 ซม, ตรง และค่อนข้างแบน. เมล็ด เล็ก, สีดำ, ผิวขรุขระ.
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ทั้งต้น นำไปประกอบอาหารเช่น แกง ผัด(ลั้วะ)
ใบ นำไปประกอบอาหารเช่น แกงผักกาด(ปะหล่อง)
- ต้น กินได้ [6]
- เมล็ด ให้ essential oil of mustard, ที่มีกลิ่นฉุนรุนแรงกว่าที่ได้จากต้นมัสตาร์ดชนิด Brassica nigra และมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคบางชนิดได้ ; ใช้สำหรับเตรียม black หรือ brown mustard และนำมาใช้เป็นอาหาร, โดยผสมกับ white mustard, กินในขนาดต่ำ ๆ , เป็นสารแต่งรสอาหาร, ขับลม, บำรุงธาตุ, แก้หวัด, เพิ่มน้ำลาย และกรดในกระเพาะอาหาร, ถ้ากินมาก ๆ เป็นพิษ, ทำให้ทางเดินอาหารเกิดอาการระคายเคืองอย่างรุนแรง, ถึงขั้นทำให้อาเจียนได้ ; ใช้ทาภายนอกแก้แพ้, แก้คัน, แก้ปวดปลายประสาท, ถูนวด แก้ตับ และอวัยวะภายในอักเสบ ; mustard oil มีคุณสมบัติเป็นสารกันบูด (preservative) ที่ดีที่สุดในบรรดาเครื่องเทศ และสมุนไพร, ใช้ยับยั้งการเจริญของยีสท์ในเหล้าองุ่น [6]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง