|
วงศ์ |
Compositae (Asteraceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Blumea balsamifera (L.) DC. |
|
|
ชื่อไทย |
หนาดใหญ่, หนาดหลวง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ส้างหยิ้ง(ม้ง), อิ่มบั้วะ(เมี่ยน), หนาด(ไทลื้อ,คนเมือง,ลั้วะ), เก๊าล้อม(ลั้วะ), ด่อละอู้(ปะหล่อง), เพาะจี่แบ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 5 – 6 ฟุต ทั่วลำต้นมีขนสีขาวนุ่ม ลำต้นเป็นแก่นแข็ง
ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแหลมเล็กน้อย ริมขอบใบหยักเป็นซี่ใหญ่ ไม่เท่ากัน ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.2 – 4.5 ซม. ยาวประมาณ 10 – 17 ซม. หลังใบและใต้ท้องใบมีขนทั้ง 2 ด้าน
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายกลีบแยกออกจากกันเป็น 5 กลีบ กลีบดอกอ่อนจะมีเป็นสีเหลือง แต่พอแก่กลีบดอกก็จะเปลี่ยนกลายเป็นสีขาว
ผล ผลมีลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ มีเหลี่ยมอยู่ 10 เหลี่ยม ส่วนบนเป็นขนสีขาว ๆ[1] |
|
|
ใบ |
ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแหลมเล็กน้อย ริมขอบใบหยักเป็นซี่ใหญ่ ไม่เท่ากัน ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.2 – 4.5 ซม. ยาวประมาณ 10 – 17 ซม. หลังใบและใต้ท้องใบมีขนทั้ง 2 ด้าน
|
|
|
ดอก |
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายกลีบแยกออกจากกันเป็น 5 กลีบ กลีบดอกอ่อนจะมีเป็นสีเหลือง แต่พอแก่กลีบดอกก็จะเปลี่ยนกลายเป็นสีขาว
|
|
|
ผล |
ผล ผลมีลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ มีเหลี่ยมอยู่ 10 เหลี่ยม ส่วนบนเป็นขนสีขาว ๆ |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปตุ๋นใส่ไข่ รับประทานรักษาโรคไข้มาเลเรีย(ม้ง)
ใบ นำมาสับแล้วตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณ(ไทลื้อ)
ใบ ขยี้แล้วใช้ยัดจมูกเวลาเลือดกำเดาไหลช่วยให้เลือดหยุดไหล(คนเมือง)
ใบ เป็นส่วนประกอบในยาต้มให้สตรีหลังคลอดอาบเพื่อช่วยให้ฟื้นตัวเร็ว (ยาต้มประกอบด้วยสมุนไพรอื่นๆ เช่น ไพล, ราชาวดีป่า, อูนป่า และเปล้าหลวง)
ต้น ต้มน้ำอาบแก้อาการไข้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ใบ เป็นส่วนผสมในยาสมุนไพรอาบรักษาอาการผิดเดือนสำหรับสตรีหลังคลอดลูกร่วมกับใบเปล้าหลวง (ลำเชิน) และใบหมากป่า
ราก นำมาต้มในน้ำผสมกับรากเปล้าหลวง (ลำเชิน) ใช้เป็นยาห่มรักษาอาการผิดเดือน(ลั้วะ)
ใบ นำมาขยี้แล้วดมแก้อาการเลือดกำเดาไหล หรือนำมานวดที่หน้าอกแก้อาการเจ็บหน้าอก ถ้าไม่หายให้นำต้นมาต้มน้ำดื่ม(ลั้วะ)
ใบอ่อน ทุบแล้วแช่น้ำดื่มแก้อาการท้องร่วงหรือใช้ต้มน้ำร่วมกับ ใบช่าน โฟว(ว่านน้ำเล็ก) ลำต้นป้วงเดียตม เครือไฮ่มวย ต้นถ้าทางเมีย ต้นเดี่ยปวง(สามร้อยยอด) ใบสะโกวเดี๋ยง(เดื่อฮาก) ใบจ้ากิ่งยั้ง (ก้านเหลือง) ใบทิ่นหุ้งจา(ฝ่าแป้ง)ให้สตรีหลังคลอดบุตรที่อยู่ไฟอาบเพื่อช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น(ถ้าหาสมุนไพรได้ไม่ครบก็ให้ ใช้เท่าที่หาได้)(เมี่ยน)
- ใบ ใช้เป็นที่ปะพรมน้ำมนต์ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายร่วมกับกิ่ง พุทรา(คนเมือง)
- พิมเสน สกัดใบและยอดอ่อนด้วยไอน้ำ จะได้น้ำมันหอมทำให้เย็น พิมเสนก็จะตกผลึก แล้วกรองแยกเอาผลึกพิมเสนมาใช้ประมาณ 0.15 – 0.3 กรัม นำมาป่นให้เป็นผงละเอียด หรือทำเป็นยาเม็ดกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วงหรือใช้ขับลม เมื่อใช้ภายนอกนำผงมาโรยใส่บาดแผล แผลอักเสบ แก้กลากเกลื้อน และแผลฟกช้ำ เป็นต้น
ใบและยอดอ่อน ใช้ใบและยอดอ่อนแห้งประมาณ 10 – 18 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ปวดท้อง ขับเสมหะ แก้ริดสีดวงจมูก ขับลมในลำไส้ ขับพยาธิ แก้บิด บำรุงกำลัง หรือใช้ภายนอกด้วยการบดให้เป็นผงละเอียดผสมสุรา ใช้พอกหรือทาแผลผกช้ำ ฝีบวม อักเสบ แผลฝีหนอง บาดแผลสด ห้ามเลือด แก้ปวดหลังเอว ปวดข้อ และแก้กลากเกลื้อน เป็นต้น
ราก ใช้รากสด ประมาณ 15 – 30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้บวม ปวดข้อ ปวดท้อง ท้องเสีย ขับลม ทำให้การหมุนเวียนของโลหิตดี และแก้ปวดเมื่อยหลังคลอดแล้ว เป็นต้น[1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|